Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว Understanding by design กับคำถามเบื้องต้น

Monday, June 25, 2007

เมื่อตั้งใจว่าจะวางแผนการสอน ก็จะมีคำถาม ที่ตัวเองจะต้องตอบก่อนว่า นี่ฉันต้องทำอย่างไร ซึ่งต้องนั่งใจเย็นๆสักพัก และก็วางขั้นตอน

ถามตัวเองก่อนว่า อะไรคือหน่วยของการเรียนรู้ ที่ต้องกำหนดก่อน อะไรคือความเข้าใจคงทน ที่ติดตัวผู้เรียนตลอดไป และอะไรคือคำถาม ที่ต้องวางเป้าหมายเอาไว้กับบทเรียนนี้ จะวางแผน วางกรอบอย่างไรเพื่อที่จะให้เด็กๆได้รู้ถึงจุดประสงค์และเหตุผล เพื่อที่ว่าเด็กจะได้รู้ว่าเขาเรียนอะไร ตั้งแต่เริ่มบท

จะประเมินความรู้ของเด็กล่วงหน้าอย่างไร ว่าเขามีความรู้เดิมขนาดไหน เพื่อที่จะโยงความรู้เก่าๆของเขาไปกับบทเรียนใหม่ตลอดจนจบบทเรียน

จะประเมินรวบยอดเมื่อจบบทเรียนอย่างไร จะให้เด็กแสดงออกว่าเขารู้เรื่องแล้ว และสามารถจะประยุกต์มาใช้งานได้ หรือประยุกต์แนวคิดได้ หรือแม้แต่จะให้เด็กมีบทบาทอย่างไรในการช่วยการสรุปบทเรียนที่กำลังจะจบลง

จะประเมินตามรูปแบบมาตรฐานตลอดการสอนอย่างไร เพื่อที่จะให้รู้ว่า ตลอดการสอนไปนั้นเด็กเข้าใจแล้ว จะให้เด็กแสดงออกอย่างไรว่าเขาเข้าใจมากขึ้นหรือพัฒนาขึ้นจากคำถามที่สำคัญๆตลอดการเรียน

ฉันจะรับทราบถึงเกณท์มาตรฐานได้อย่างไรเพื่อที่จะหาค่าของการประเมินความรู้ทั้งในระหว่างเรียนและตอนสรุปบทเรียน

จากพื้นฐานของการสรุปบทเรียนที่เด็กนักเรียนจะต้องแสดงออก อะไรคือทักษะที่สำคัญ หรือแนวคิดที่วางเป็นเป้าหมายเอาไว้ เช่นการอ่าน หรือการเขียนออกมา

อะไรคือยุทธศาสตร์การสอน หรือการแสดงออกที่ดีที่จะเอามาใช้ในการสอนให้เห็นเด่นชัดในการสอนตลอดบทเรียน ถ้าคุณได้อ่านจากการพูดครั้งก่อนๆของรอบรั้ววิทยาศาสตร์ จะเห็นว่า คำถามบางครั้ง จะมีแนวคำถามแบบ “แฟนพันธุ์แท้” คือจะอธิบายความรู้ให้ฟังก่อน ว่าอะไรคืออะไร แล้วเอาคำถามมาถามอีกเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกริ่นนำเอาไว้ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “โหนกระแส”

ยังไม่จบค่ะ ถ้าหาเจออะไรดีๆ พอเป็นประโยชน์บ้าง ก็จะเอามาขยายให้ฟังค่ะ


Posted by ครูพเยาว์ at 10:19 PM