Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว คุณธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Monday, June 25, 2007


สืบเนื่องมาจากการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ได้จัดให้มีการอบรมนักเรียนในโครงการค่ายโครงงานคุณธรรม เฉลิมพระเกียรติ"เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ประจำปี 2550 นักเรียนของโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ในการอบรม มุ่งเน้นไปเรื่อง คุณธรรม หลักปฎิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการต่อยอด เสริมความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้คัดลอกเอาบทความของท่านผู้รู้คนอื่นเข้ามา เพื่อที่จะเสริมให้เด็กมีความรู้ในเรื่องเพิ่มขึ้น เข้าใจมากขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้ สังคมของบ้านเมืองเรา นับวันจะมีแต่ความสับสน วุ่นวาย แก่งแย่ง ชิงดีกัน คุณธรรมอันเป็นหลักที่จะให้เราทั้งหลายได้ยึดเหนี่ยวเอามาใช้ สมดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเอาไว้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง:คุณธรรมพื้นฐาน

ธรรมสากล
1. การยึดถือความจริงความสัตย์
2. การให้คุณค่าของความเป็นมนุษย์
3. การให้ความรักความเมตตาแก่กัน

คุณธรรม: หลักความดี-ความงาม-ความจริงที่ใจยึดถือ
ศีลธรรม: หลักคิดและข้อปฏิบัติทางศาสนา
จริยธรรม: ข้อพึงปฏิบัติ (จริยธรรมทั่วไป, จริยธรรมวิชาชีพ)

กฎธรรมชาติ:
1. กฎไตรลักษณ์ (กฎของการเปลี่ยนแปลง)
- ความไม่เที่ยง (อนิจจัง)
- ความทุกข์ (ทุกขัง)
- ความมิใช่ตัวตน (อนัตตา)
2. กฎของความเป็นเหตุปัจจัย (ปฏิจสมุปบาท)
เหตุปัจจัย ?
ผลซึ่งเป็นเหตุปัจจัยขั้นต่อไป ??
ผลขั้นต่อไป
3. กฎของความเป็นเหตุผล อริยสัจ 4
- ทุกข์ (ปัญหา)
- สมุทัย (เหตุปัจจัยของปัญหา)
- นิโรธ (เป้าหมายการแก้ปัญหา)
- มรรค (วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น)
4. กฎแห่งกรรม
- การกระทำทางกาย-วาจา-ใจ ย่อมให้ผลของมัน
- ผู้ปฏิบัติย่อมรับผลของการปฏิบัติ

ความสุข
1. สามิสสุข ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาตอบสนองความต้องการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงแสวงหาไม่รู้จบ หวงหึง ผูกพัน กลัวสูญหาย-สูญเสีย
2. นิรามิสสุข ความสุขภายใน เกิดจากใจที่สงบ สะอาด สว่าง เกิดความพอเพียง-ไม่ดิ้นรน

ความพอ: สันโดษ
หลัก: จะทำอะไร ให้ทำด้วยอิทธิบาทธรรม คือทำอย่างเต็มที่ และเมื่อได้ผลออกมาอย่างไรจากการกระทำครั้งนั้นก็ให้เกิดความสุข-ความพอ (ถ้าไม่ได้ผลตามต้องการให้ปรับปรุงใหม่คราวหน้า)

ความสุข-ความพอ
- พอใจในสิ่งที่ได้
- พอใจในสิ่งที่มี
- พอใจในสิ่งที่เป็น

ความสุขในความพอ
- ตามควรแก่ความสามารถ
- ตามควรแก่การกระทำ
- ตามควรแก่ฐานะ
- ตามควรแก่กฎเกณฑ์สังคม (จริยธรรม) กฎเกณฑ์ศีลธรรม และกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

เป้าประสงค์:
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์”

หลักความพอเพียง:
“ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน”
(สามองค์ประกอบสำคัญคือ 1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล 3. มีภูมิคุ้มกันในตัว)

สามเงื่อนไข:
1. เงื่อนไขหลักวิชา
“ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และ…”
2. เงื่อนไขคุณธรรม
“ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และ…”
3. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต
“ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ...”
(สามเงื่อนไข คือ 1. เงื่อนไขคุณธรรม 2. เงื่อนไขหลักวิชาความรู้ 3. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
เศรษฐกิจพอเพียง “เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
(ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง 1. ทางวัตถุ 2. ทางสังคม 3. ทางสิ่งแวดล้อม 4. ทางวัฒนธรรม)

สรุป:
1. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง
2. ความพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ
3. ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อ คือ
- เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์-มีคุณธรรม)
- เงื่อนไขหลักวิชา (ใช้หลักวิชาวางแผน-ปฏิบัติ)
- เงื่อนไขชีวิต (ขยัน-อดทน-สติ-ปัญญา)
4. นำไปสู่ (สมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง)
5. ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง
- ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง
- กฏการเปลี่ยนแปลงเกิดจากเหตุ-ปัจจัย (ภายนอก ควบคุมไม่ได้ / ภายใน ควบคุมได้)
- การเปลี่ยนแปลงมีลักษณะเป็นวงจร (มีทั้งขาขึ้น-ขาลง ขาขึ้นต้องไม่ประมาท ขาลง ต้องรีบยับยั้ง)
- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง (วัตถุ-สังคม-สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม) โดยอาจเกิดเร็ว-รุนแรง และกว้างขวาง

คุณธรรมสำหรับชาวไทย
(พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อ พ.ศ. 2525 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง) ทรงแนะนำให้คนไทยมีคุณธรรมประจำใจ 4 ประการ ได้แก่
1. รักษาความสัตย์ ความจริง ต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. รู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดี
3. อดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
4. รู้จักระวังความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
เอกสารอ้างอิง
After the Cold War (1990 to present)
- Peter Drucker: the “Age of Discontinuity” (it will not be the same as before)
- Joseph Schumpeter: the world will feel the forces of creative destruction.
- Rowan Gibson: the journey ahead is going to be like an off-road experience bumpy, uncertain and full of surprises.
บรรยายโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย นายกสภามหาวิทยาลัย ในการสัมมนากรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประจำปี 2549 เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2550-2554 วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2549

Posted by ครูพเยาว์ at 10:20 PM