Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มอิทธิบาท 4

Wednesday, July 30, 2008


อิทธิบาท หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องลุให้ถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ซึ่งดูๆจะคล้ายๆกับ ศรัทธาค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ เพราะถึงมีศรัทธา ก็ยังต้องพึ่ง อิทธิบาทเป็นเครื่องมือในการดำเนินการให้ถึงจุดที่เราต้องการ การที่จะทำอะไร ให้มีศรัทธาเอาไว้ก่อน แล้วก็เอาอิทธิบาทนี่แหละเป็นตัวช่วย ดูกลุ่มนี้แล้ว ก็น่าจะเป็นจริงค่ะ ดูทุกคนเอาจริงเอาจังนะคะ




กลุ่มนี้มี เด็กหญิง ปฎิมากรณ์ สุทธิโคตร, เด็กชาย มิตรไมตรี ศุภวุฒิ, เด็กชาย อาศิรา ไชบุรม,


เด็กหญิง ปิยะนันท์ ดอนสมพงษ์, เด็กหญิง พรนิภา ใจน้ำ, เด็กหญิง มัณฑนา ศรีโคตรอัน,


และ เด็กชาย นันทวัฒน์ ที่ขอมาร่วมกลุ่ม เพื่อให้ความช่วยเหลือ ในยามที่ร้องขอค่ะ




ครูมั่นใจค่ะ ว่าทุกคนจะประสบผลสำเร็จในการเรียน ในชีวิต ถ้า ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในความเพียรพยายาม เป็นเบื้องต้น มีความพอใจในงานที่กระทำลงไป ไม่ละทิ้งกลางคัน ไม่ว่าการเรียน หรือการงานอันใด แล้วก็สอดส่องดูด้วยปัญญา ว่างานที่เราทำสำเร็จลงได้นั้น มันสำเร็จลงได้อย่างไร แล้วก็เอาไปปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไป

Posted by ครูพเยาว์ at 1:56 PM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มศรัทธา 4


ใครก็ตามนะคะที่มีความเชื่อในศรัทธา 4 จะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขค่ะ เพราะเขาจะไม่กล้าทำบาป แม้แต่น้อยนิด เพราะเขาเชื่อว่า กรรมที่มีจริงนั้น จะย้อนมาทำร้ายเขาภายหลัง ตามกฎแห่งกรรม ดังนั้นสิ่งที่เขาจะต้องทำก็เหลืออยู่อย่างเดียว คือ กรรมดีค่ะ....ผลตอบแทนก็คือ ความสุขนั่นแหละค่ะ


กลุ่มนี้มี เด็กหญิง ปรานชนก ศรีหานู, เด็กหญิง อรพรรณ อิ่มอัมพร, เด็กหญิง นุชบา ประทุมแก้ว,

เด็กหญิง รวิวรรณ ไพยรินทร์, เด็กหญิง ชญานิศ รัตนประเสริฐ, เด็กหญิง จิรนันท์ โคตรสีเขียว

และกลุ่มนี้ก็มีผู้ที่จะมาช่วยเหลือ ยามคับขัน อีกแล้วครับท่าน...คือ เด็กชาย นันทวัฒน์ ค่ะ


การที่เรามุ่งมั่นจะทำอะไรให้เป็นผลสำเร็จลงไปด้วยดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่เราจะต้องเริ่มต้นด้วยความรักและศรัทธา ที่จะทำ ถ้าเราเริ่มดังนี้แล้ว...อนาคตของเราก็ไม่ไกลเกินเอื้อมหรอกค่ะ ถามตัวเองดู ว่าอยากเป็นอะไร...ปลูกความรักและศรัทธาลงไปนะคะ แล้วเราจะเห็นว่ามันเติบใหญ่ อยู่ในใจเรา...แล้วก็พยายามที่จะไปให้ถึงจุดนั้น อย่างไม่ยากลำบาก เพราะเราทำมันด้วยความรัก

Posted by ครูพเยาว์ at 1:19 PM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มพุทธจริยา


เป็นกลุ่มที่งดงามค่ะ...ดูทุกคนจะเรียบร้อย แม้ว่าบางคนยังสนุกสนานกับเพื่อนอยู่...เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พุทธจริยา...นั้นหมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ใครที่อยู่ในกลุ่มนี้ ก็เท่ากับว่า เป็นคนที่มีเมตตาอันยิ่งใหญ่ ช่วยเหลือคนหมู่มาก เช่นครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ช่วยให้คนได้พ้นทุกข์ได้...ไม่ว่าอนาคตจะเดินไปในทางไหน ถ้าคนเรามีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาแล้ว โลกก็อยู่อย่างมีความสุขค่ะ...อย่างน้อยที่สุดแล้ว ในนี้มีใครอยากเป็นคุณหมอมั๊ยคะ




กลุ่มนี้มี เด็กหญิง กานติมา วิริยะจิตต์, เด็กหญิง เบญจรัตน์ เล็กอำพันธ์, เด็กหญิง ณิชกานต์ กวยเงิน,


เด็กชาย พสภัค สมจิตร, เด็กชาย ธันวา บูรพา, เด็กชาย เรืองทรัพย์ ตันสวัสดิ์,เด็กชาย นันธวัช เศวตวงษ์,


เด็กหญิง วิรสุดา มณีกานนท์, เด็กชาย สรรเพชญ ผิวดำ และ เด็กชาย นันทวัฒน์ เสนดี สี่คนที่จะมาช่วยกลุ่มนี้ทำงานค่ะ



ดูแล้วกลุ่มนี้มีหลายคนนะคะ...ดีแล้วค่ะ เมื่อมีอะไร ถ้าเรามีคนมาก งานก็เสร็จเร็ว และทุกคนก็ต้องช่วยเหลือกันอย่างจริงจังนะคะ

Posted by ครูพเยาว์ at 12:48 PM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มอริยสัจ 4


เป็นรูปของคณะรัฐมนตรีค่ะ...ถึงแม้ว่าตอนนี้เขายังรวมตัวอยู่ในกลุ่มของกลุ่มอริยสัจ 4 ค่ะ จริงๆนะคะ เพราะลักษณะของเขาดูเป็นกลุ่มคนที่เข้มแข็ง เป็นอนาคตที่ดีของชาติได้เลยค่ะ ครูมองเห็นแววตั้งแต่ตอนนี้แล้วนะคะ หนทางที่จะเดินสู่อริยะ ที่แปลว่างามประเสริฐนั้น เราเองเป็นผู้เลือก และต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นในเรื่อง อริยสัจ 4 เราสามารถมาปรับแต่งให้เข้ากับตัวเราได้ทุกอย่าง อาศัยแค่หลักที่พระพุทธเจ้าไว้วางเอาไว้เท่านั้น


กลุ่มนี้มี เด็กชาย นันทวัช เศวตพงษ์, เด็กชาย ขัตติยะ ศรีระวรรณ, เด็กชาย พสภัค สมจิตร,

เด็กชาย นันทวัฒน์ เสนดี, เด็กชาย ศิวกร แก้วเนตร, เด็กชาย ธนพงษ์ ทรงวุฒิไกร


การที่เราจะเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 ที่สำคัญนี้ได้นั้น เราเองจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผลค่ะ พระพุทธเจ้าได้ประกาศเรื่องนี้เอาไว้ และยังคงไม่มีใครมาลบล้างความจริง สัจธรรมของพระองค์ได้ ในการทำงาน ในการเรียน ในการแก้ปัญหาต่างๆ ทุกๆอย่างในโลกนี้ สามารถแก้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการของพระพุทธเจ้านี่แหละค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราทุกคน ศึกษาและเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้นะคะ

Posted by ครูพเยาว์ at 12:13 PM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มเบญจธรรม


กลุ่มที่คู่กับเบ็ญจศีล ก็คือกลุ่มนี้แหละค่ะ ที่ต่อไป เขาจะต้องไปด้วยกัน เป็นสังคมที่ดีของเรา เป็นตัวอย่างให้แก่คนอื่นๆได้เห็น...เรามีเด็กดีๆทั้งนั้นในโรงเรียนของเรา มีศีลมีธรรม จริงมั้ยคะ ถ้าในสังคมของเรา ทุกคนมีธรรมะอยู่ในใจ เราจะไม่ได้เห็นการเบียดเบียนกัน ทำร้ายกัน ครูอยากให้เราทุกคน เป็นต้นแบบของคนที่มีธรรมะ คนที่มีธรรมะนั้นเป็นคนที่เยือกเย็น ใครได้พบเห็นก็สบายใจ มีความสำรวมระวังตัว รู้จักยับยั้งชั่งใจค่ะ


กลุ่มนี้มี เด็กชาย ณัฐสิทธิ์ ธีระสาร, เด็กชาย ธีระพงษ์ ข้องตระกูล, เด็กชาย ราชการัณย์ ขันแข็ง

เด็กชาย โฆษิต ไชยโกษี, เด็กชาย พลชนก โอนนอก, เด็กชาย เอกชัย จันทองอ่อน และอีกคนค่ะ...อีกแล้ว ที่เขาจะเข้ามาช่วยเพื่อนๆกลุ่มนี้ ในยามที่เพื่อต้องการ คือ เด็กชาย นันทวัฒน์ เสนดี


จากรูปที่ครูดูนะคะ พวกเรานี่ เกาะกันเหนียวแน่น เป็นเพื่อนที่ต่อไปในอนาคต ยังไงๆ ก็ยังต้องจับกลุ่มกันอยู่อย่างนี้ อนาคตในภายภาคหน้า เราออกจากโรงเรียนนี้ไปแล้ว ขอให้กลุ่มนี้อย่าแยกสลายไปนะคะ ให้ทุกคนเป็นคนดีค่ะ รักกันให้มาก

Posted by ครูพเยาว์ at 11:46 AM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มเบญจศีล


กลุ่มนี้แหละค่ะ...เป็นกลุ่มของเด็กรักษาศีล..เบญจศีลไว้ได้อย่างสนุกสนาน เห็นมั้ยค่ะ ชู 2 นิ้วกันเป็นแถวเลยค่ะ ศีล 5 นั่นเหรอ...สบายมาก ตอนนี้เราก็เพิ่มให้อยู่แล้ว ไม่เกเร ไม่ซนจนเกินเลย ขยันเรียน ส่งการบ้านตรงเวลา ทำได้หมดค่ะ รักเพื่อนด้วยค่ะ เห็นมั้ย กลัวว่าเพื่อนจะไม่มีรูป...เอียงคอให้นิดหนึ่ง เพื่อนก็โชว์ความหล่อให้พ่อแม่ที่บ้านได้เห็นด้วย...


กลุ่มเด็กดีนี้มี เด็กชาย ณัฐพล เลิศวาณิชย์กุล, เด็กชาย พชร ชินคำ, เด็กชาย วิวัฒน์ ไชยบุตร,

เด็กชาย ณัฐพนธ์ ขามกุล, เด็กชาย สรรเพชญ ผิวดำ, เด็กชาย กิตติศักดิ์ กัณหาสินธุ์,

และอีก 2 คน ค่ะ ที่ยินดีมาช่วยเพื่อนกลุ่มนี้ เมื่อยามที่เพื่อนต้องการ คือ เด็กชาย นันธวัช เศวตวงษ์

กับ เด็กชาย นันทวัฒน์ เสนดี
ทุกคนนะคะ ต้องเป็นเด็กดีค่ะ เชื่อฟังพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ไว้ให้มาก ต่อไปอนาคต เราทุกคนนั่นแหละ จะได้เป็นกำลังที่สำคัญของชาติ มาพัฒนาบ้านเมืองของเรา ในนี้ใครจะไปรู้ได้ละคะ ว่าคนไหนจะเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นคุณหมอ เป็นวิศวกร...เราเองนั่นแหละค่ะ ที่จะนำพาตัวเองไปสู่จุดนั้น จำไว้นะคะ

Posted by ครูพเยาว์ at 11:13 AM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มไตรสิกขา


ที่จริงเราแบ่งกลุ่มกันกลุ่มละ 6 คนนะคะ แต่ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมกลุ่มนี้มีถึง 9 คน แต่ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าเข้ามาร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ยามที่เราต้องทำงานกันเป็นกลุ่ม ใครที่มามีรูปอยู่ในกลุ่ม ก็ต้องมาช่วยกันจริงๆนะคะ ไม่ใช่มาแต่รูป ตัวจริงไม่มา อย่างนั้นไม่เอาค่ะ


กลุ่มนี้คือ กลุ่มไตรสิกขา...อย่าทำเป็นงงนะคะ เรียนมาแล้ว...เรื่องศีล สมาธิ และปัญญา กลุ่มนี้จะต้องแม่นกว่าใครๆ...กลุ่มไหนไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง มาถาม 9 คนนี้ได้เลยค่ะ ทุกคนเก่ง ตอบได้หมดค่ะ


สมาชิกในกลุ่มนี้ มี เด็กชาย พงศธร พัชรพงษ์ศักดิ์, เด็กชาย วิรุฬห์ นาทะยัพ, เด็กหญิง ภณิดา วัฒนศรีเมือง

เด็กหญิง เพชรจริง ทวีนันท์, เด็กชาย ธันวา บูรพา, เด็กชาย นันทวัฒน์ เสนดี, เด็กชาย นันธวัช เศวตวงษ์

และ เด็กชาย พสภัค สมจิตร

เราทุกคนนะคะ เมื่อมารวมกลุ่มกันแล้ว มีหลักฐานแน่นหนาอย่างนี้ ก็อย่าลืมกันนะคะ เมื่อเราต้องทำอะไรร่วมกัน ช่วยเหลือกัน เมื่อเห็นว่าเพื่อนเดือดร้อน เราก็ต้องรีบไปช่วย เห็นว่าเพื่อนเดินทางผิด เราก็ต้องเป็นเพื่อนที่ดี...ตักเตือนกันได้ค่ะ ถือว่าเป็นกัลยาณมิตรนะคะ

Posted by ครูพเยาว์ at 10:24 AM

รอบรั้ว ห้อง 5/10 กลุ่มบุญกิริยาวัตถุ 3


กลุ่มแรกค่ะ ที่รวมกันได้ก่อน และก็ถ่ายรูปนี้เก็บเอาไว้ วันหน้าวันหลังจะได้จำได้ ว่าครั้งหนึ่ง เคยเรียนร่วมชั้นเดียวกัน เป็นเพื่อนรักกัน และตลอดไป ทำงานร่วมกัน


กลุ่มที่ใช้คือ บุญกิริยาวัตถุ 3 ...แม้ว่าในชั้นนี้ เราเรียนแค่ 3 อย่าง จากทั้งหมดตั้ง 10 อย่าง ก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะว่าเราเริ่มต้นด้วยดี สิ่งที่ตามมา ก็จะดีไปหมด แค่เราได้มารวมกันเป็นกลุ่ม ก็ถือว่ามีวาสนาร่วมกัน ทำบุญมาด้วยกันแต่ปางก่อน...คนไทยมักกล่าวคำนี้ใช่มั้ยคะ


ในกลุ่มนี้ มี เด็กหญิง ชนนิกานต์ พาชอบ, เด็กหญิง ณัฐณิชา บุญเลิศ, เด็กหญิง สุรมณี น้อยตาแสง

เด็กหญิง ฐิติมา มณีกานนท์, เด็กหญิง ศราลีวัลย์ ศรีทาชุม, เด็กหญิง ปนัดดา แสนเทพ และอีกคนนั่น

ที่เป็นเด็กผู้ชาย ที่ทำมือแง๊กๆอยู่นั่น..คือเด็กชายนันทวัฒน์ เสนดีค่ะ ต่อไป ถ้ากลุ่มบุญกิริยา 3 นี้

จะทำอะไร...อยากให้ช่วย...นันทวัฒน์ก็จะให้ความร่วมมือด้วย...เพราะการช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องดีค่ะ

Posted by ครูพเยาว์ at 9:33 AM

รอบรั้ว พุทธศาสนา การบวช

Wednesday, July 16, 2008


การได้เกิดเป็นลูกผู้ชายไทย...ชาวพุทธนี่ สิ่งที่ต้องทำและสมควรที่จะทำอย่างยิ่ง ให้สมกับความเป็นกุลบุตรก็คือ การเข้าไปบวชเรียน ในพระพุทธศาสนา พ่อ-แม่ทุกคนต่างก็หวังเอาไว้อย่างยิ่งว่า...ลูก อาจจะบวชให้ เพื่อหวังว่า หากตายไป...อาจได้ยึดชายจีวรแห่งบุญกุศลของลูก ที่ได้มอบให้แก่บุพการี เพื่อไปสู่สุขคติยามที่วายชนม์ไป นั่นคือความเชื่ออย่างหนึ่งของชาวพุทธเรา
...
น้ำตาแห่งความปิติ ได้หลั่งออกมาจากดวงตาของพ่อแม่ ที่ได้เห็นลูก ถือดอกไม้มากราบขอขมา มันเป็นเวลาที่ไม่อาจจะอธิบายออกมาได้ ณ วินาทีนั้น...มันเต็มตื้นไปหมด และไม่มีวันลบเลือน
หลังจากนี้...ผู้ที่ได้เข้าบวช ก็จะได้ตั้งหน้า ตั้งตาเรียน ฝึกฝน ที่จะเอาชนะตัวเอง พาตัวเองให้พ้นภัยจากกิเลสมารทั้งหลายที่จ้องมากลุ้มรุมทำร้ายอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นอุบายอย่างหนึ่งของชาวพุทธเรา ที่พยายามจูงลูก เข้าสู่ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา ให้มีชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ให้มีสติมั่นคง หากได้ลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตคฤหัสถ์ในภายหลังอย่างมีความสุข
...
แต่การที่จะอยู่ในวัดที่เขาเพ่งที่จะฝึกคนแล้ว...มันก็ต้องยากกว่าใช้ชีวิตตามธรรมดา..หรือไปบวชแบบวัดธรรมดา กฎระเบียบต่างๆ ศีลอีก 227 ข้อที่จะต้องสำรวมระวังเอาไว้ตลอดเวลา สำหรับคนที่ใช้ชีวิตแบบอิสระและชินกับการเป็นอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมจะท้อใจขึ้นมาได้....ใจอาจคิดเตลิด..ก็ไม่ได้หวังนิพพานอะไรนี่...อะไรทำนองนี้ เชื่อว่าหลายคนที่กำลังจะเดินไปสู่การตัดสินใจที่จะออกบวช เริ่มลังเล...เพราะแค่โกนหัวบวชนาค ก็เห็นรางๆว่า ข้างหน้าจะเจอกับอะไร อุปสรรคและความลำบากที่ไม่เคยคิดมาก่อน บางคนถึงกับขอกลับบ้าน ไม่บวชดีกว่า...มีมาแล้ว
และก็พลาด...พลาดโอกาสที่พระพุทธเจ้าได้มอบให้แก่มนุษย์มากว่าสองพันปี...ให้โอกาสที่จะศึกษาตนเองอย่างจริงจัง ฝึกอย่างจริงจัง และได้เอาวิชานั้นไปดำรงชีวิตให้อยู่อย่างรู้เท่าทันกับกิเลส ตัณหาต่างๆ ที่เราต้องอยู่ร่วมกันไปตลอดเส้นทางของชีวิต...ให้เรามองกิเลส ตัณหาต่างๆอย่างเหยียดๆได้...ว่าฉันรู้เท่าทันแกนะ
...
หลวงปู่เทศนาให้ฟังกัณฑ์หนึ่ง ก่อนที่จะถึงพิธีบวช พูดถึงการเห็นภัยในวัฎฎสังสาร ภิกษุคือผู้เห็นภัยนี้...การที่เข้าไปบวช ก็เท่ากับการที่เข้าไปศึกษาให้เห็นพิษภัยของเหล่ามารต่างๆที่แอบซ่อน แอบซุกอยู่ในจิตใจของเรา ปลุกเร้าเราให้ทำตามใจของมัน...เราเองก็ต้องฝึก ต้องปฎิบัติ ต้องทำความเข้าใจและสามารถรู้เท่าทัน จากนั้นถ้าเก่งพอ ก็ขจัดเหล่ามารนั้นให้พ้นจากเราได้...ไม่ถึงนิพพาน แต่ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้โดยไม่มีมารมากวนใจ

รอบรั้ว พุทธศาสนา วันเข้าพรรษา

Friday, July 11, 2008


วันเข้าพรรษา
จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวางเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงวางเป็นระเบียบข้อบังคับให้พระสงฆ์ต้องเขาจำพรรษาในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบคุณงามความดีตามหน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ

วันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เรียกว่า ครบไตรมาส คือ 3 เดือนนี่เป็นการเข้า “พรรษาต้น”ส่วนการเข้า“พรรษาหลัง”เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ 1 เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12

พิธีกรรมของสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา พระท่านจะทำการซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดีที่ใช้อยู่อาศัยได้ จัดการปัดกวาดหยากไย่ เช็ดถูให้สะอาด สาเหตุที่ต้องกระทำเสนาสนะให้มั่นคงและสะอาด ก็เพื่อจะได้ใช้บำเพ็ญสมณกิจในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวฝนจะรั่วรดอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วจึงกระทำพิธีเข้าพรรษา โดยกล่าวอธิษฐานตั้งใจเพื่ออยู่จำพรรษา ตลอดฤดูฝนในวัดของท่านที่ตั้งใจจะอยู่

คำกล่าวอธิษฐานพรรษาเป็นภาษาบาลีว่า “อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาในวัดนี้ ตลอด 3 เดือน” โดยกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ 3 ครั้ง ต่อจากนั้นพระผู้น้อยก็กระทำสามีกิจกรรม คือ กล่าวขอขมาพระผู้ใหญ่ว่า “ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไปทางกาย วาจา ใจ เพราะประมาท”ส่วนพระผู้ใหญ่ ก็กล่าวตอบว่า ลดโทษให้เป็นอันว่าต่างฝ่ายต่างให้อภัยกัน นับเป็นอันเสร็จพิธีเข้าพรรษาในเวลานั้น ครั้งวันต่อไปพระผู้น้อยก็จะนำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบพระเถรานุเถระต่างวัด ผู้ที่ตนเคารพนับถือ

ประวัติพิธีเข้าพรรษาของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าว่า ในประเทศอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝน น้ำมักท่วม ผู้ที่สัญจรไปมาระหว่างเมือง เช่น พวกพ่อค้า ก็หยุดเดินทางไปมาชั่วคราว พวกเดียรถีย์และปริพาชกผู้ถือลัทธิต่าง ๆ ก็หยุดพัก ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดฤดูฝน ทั้งนี้เพราะการคมนาคมไม่สะดวก ทางเป็นหลุมเป็นโคลน เมื่อเกิดพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกเผยแพร่พระศาสนาต่อไป นับเป็นพุทธจริยาวัตรและในตอนแรกที่ยังมีพระภิกขุสงฆ์ไม่มาก พระภิกขุสงฆ์ปฏิบัติประพฤติตามพระพุทธเจ้า ความครหานินทาใด ๆ ก็ไม่เกิดมีขึ้นจึงไม่ต้องทรงตั้งบัญญัติพิธีอยู่จำพรรษา ครั้นพอพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไปกว้าง พระภิกษุสงฆ์ได้เพิ่มปริมาณเพิ่มขึ้น วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีพระภิกขุ 6 รูป ฉัพพัคคีย์ แม้เมื่อถึงฤดูฝน ก็ยังพากันจาริกไปมา เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้า และสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้เกิดความเสียหายและตายไป ประชาชนจึงพากันติเตียนว่าไฉนพระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล พากันเหยียบย่ำข้าวกล้าและต้นไม้ตลอดจนทั้งสัตว์หลายตายจำนวนมาก แม้พวกเดียรถีย์และปริพาชก ก็ยังหยุดพักในฤดูฝนหรือจนแม้แต่นกก็ยังรู้จักทำรังเพื่อพักหลบฝน เมื่อความเรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียวตลอด 3 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้ามมิให้พระภิกษุเที่ยวไปค้างคืนที่อื่น หากมีธุระกิจเป็นอันชอบด้วยพระวินัย จึงไปได้ด้วยการทำสัตตาหกรณียะ คือต้องกลับมาที่พักเดิมภายใน 7 วัน นอกจากนั้นห้ามเด็ดขาด และปรับอาณัติแก่ผู้ฝ่าฝืนล่วงละเมิดพระบัญญัติ

พิธีการปฏิบัติในวันเข้าพรรษา มีความเป็นมาดังกล่าวนี้พิธีกรรมของพุทธศาสนิกชน อันเนื่องในวันเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนมีการกระทำบุญตักบาตรกัน 3 วัน คือวันขึ้น 14-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และขนมที่นิยมทำกันในวันเข้าพรรษาได้แก่ ขนมเทียน และท่านสาธุชนที่มีความเคารพนับถือพระภิกษุวัดใด ก็จัดเครื่องสักการะ เช่น น้ำตาล น้ำอ้อย สบู่ แปรง ยาสีฟัน พุ่มเทียน เป็นต้น นำไปถวายพระภิกษุวัดนั้นยังมีสิ่งสักการะบูชาที่พุทธศาสนิกชนนิยมกระทำกันเป็นงานบุญน่าสนุกสนานอีกอย่างหนึ่งคือ “เทียนเข้าพรรษา” บางแห่งจะมีการบอกบุญเพื่อร่วมหล่อเทียนแท่งใหญ่ แล้วแห่ไปตั้งในวัดอุโบสถ เพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยตลอด 3 เดือน

การแห่เทียนจำนำพรรษาหรือเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นงานเอิกเกริก มีฆ้องกลองประโคมอย่างสนุกสนาน และเทียนนั้นมีการหล่อหรือแกะเป็นลวดลายและประดับตกแต่งกันอย่างงดงามเทศการเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นเทศกาลพิเศษ พุทธศาสนิกชนจึง ขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนตั้งใจรักษาอุโบสถตลอด 3 เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่าง พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้นการกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และคนอาศัยสาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณเลิกละอบายมุขและความชั่วสามานย์ต่าง ๆ โดยตลอดไป จึงนับเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องสรรเสริญและได้รับสิ่งอันเป็นมงคล

Posted by ครูพเยาว์ at 12:24 PM

รอบรั้ว พุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา



วันอาสาฬหบูชา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘

ใ จ ค ว า ม ส ำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า
ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า
“อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา

๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์

๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว

๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)

พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

Posted by ครูพเยาว์ at 10:31 AM