Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว การทหารในอดีต

Friday, September 24, 2010


My ancestors have ruled Japan for 2,000 years. And for all that time we have slept. During my sleep I have dreamed. I dreamed of a unified Japan. Of a country strong and independent and modern... And now we are awake. We have railroads and cannon and Western clothing. But we cannot forget who we are or where we come from.

การดูภาพยนตร์นั้น มันไม่มีวิญญาณของชีวิตสักเท่าไหร่...สู้อ่านหนังสือเอาไม่ได้ ทุกตอนที่อยู่ในหนัง ถ้าเราได้อ่านบทล่วงหน้า จะซาบซึ้งมากกว่า หลายตอนที่มีในภาพยนตร์ ถ้าเราไปอ่านแล้ว การบรรยายอารมณ์เป็นตัวหนังสือนั้น เต็มเปี่ยมไปด้วย...บรรยากาศของอารมณ์ในขณะนั้น ครูอ่านบางตอนด้วยน้ำตา...ฟังดูอาจเกินเลยไป สำหรับบางคน แต่เรื่องนี้ มันทำให้เรารู้ว่า ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลนั้น เขาสมควรได้รับหรือไม่ ภาพของนายทหารญี่ปุ่นที่สั่งยิงพวกซามูไรอย่างไม่ยั้ง พร้อมกับสีหน้าที่แสดงถึงความเสียใจ ที่ต้องสังหารพวกเดียวกัน เลือดเนื้อเดียวกัน มันเจ็บปวดเหลือเกิน...แต่สิ่งที่เราได้เห็น เรื่องที่เกิดขึ้นในบ้านเรา...กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง...ที่ฆ่ากันเอง...ยังกับเป็นศัตรูมาแต่ชาติปางไหน กระเหี้ยนกระหือรือเข้าไล่ฆ่ากัน...มันช่างสะท้อนใจเสียจริงๆ...ถ้าจะติก็คงต้องลงไปที่จิตวิญญาณของคนเราเอง ไม่ได้ใส่ใจ ในคำสอนของพระพุทธศาสนา..ทำผิดได้ง่ายเหลือเกิน ไม่มีอะไรมายับยั้งชั่งผิดถูกชั่วดีได้…ครูขอเกริ่นเรื่องดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวไว้แค่นี้

ต่ออีกนิดเรื่องคำดำรัสของพระจักรพรรดิ์ของญี่ปุ่นที่ได้ประกาศในที่ชุมนุมนั้น ซึ่งครูเอามาวางไว้ข้างบนก่อนที่พระองค์จะดำรัส พระองค์ได้ยินคำพูดของนายทหารอเมริกัน ที่บอกว่า ถ้าพระองค์เชื่อว่าเขาเป็นศัตรูต่อพระองค์แล้วละก็ ขอให้ทรงบอก เขาจะฆ่าตัวตายในทันที...เป็นคำพูดของชาวตะวันตก ที่ทำให้พระองค์ถึงกับตลึง เพราะนั่นคือเขาได้ซาบซึ้งในวิถีชีวิตของนักรบซามูไรไปแล้ว...จากที่ทรงคุกเข่ารับดาบซามูไร...ทำให้พระองค์ยืนขึ้นและมีดำรัสเป็นภาษาอังกฤษ ก็ทำให้ทูตอเมริกาต้องแปลกใจ... . But we cannot forget who we are or where we come from. อย่าได้ลืม ว่าเราคือใคร หรือรากเหง้าเรามาจากไหน

ภาพยนตร์เรื่องมหาบุรุษซามูไร เข้ามาฉายในเมืองไทยหลายปีแล้ว เล่าถึงการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนผ่านการปกครองของประเทศญี่ปุ่น จากยุคโตกุกาว่าที่ปกครองโดยยึดกฎซามูไร ไปสู่การปกครองยุคเมจิ ซึ่งยึดหลักแบบตะวันตก พวกซามูไรไม่พอใจ จึง รวมตัวเข้าต่อต้าน ท่ามกลางกระแสการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้วิถีชีวิตของซามูไรไร้ความหมาย และกลายเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ในสังคมไป

ต่อมาตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นได้ว่าจ้าง ร.อ.นาธาน อัลเกรน (ปี ค.ศ.1876) นายทหารอเมริกันเข้ามาทำหน้าที่ครูฝึกการใช้อาวุธปืน และปราบปรามผู้ก่อการร้าย...ในสมรภูมิที่เขาต้องเจอ คือนักรบซามูไรที่กล้าสู้กับปืนของชาวตะวันตก ครั้งนั้นเขาโดนจับได้ คัทซึโมโตะ หัวหน้านักรบซามูไรจับเขาเป็นเชลย...คนที่ควบคุมดูแลเขา กลายเป็นหญิงหม้าย ทากะ ที่สามีถูกอัลเกรนฆ่าไป การเป็นเชลยของเขาไม่ได้ถูกจองจำ หรือควบคุมด้วยเครื่องพันธนาการอันใด เพียงแค่มีคนจับจ้องอยู่ทุกที่ๆเขาไป เวลาก็ผ่านไป ทำให้เขาได้เรียนรู้ชิวิตที่สมถะ เรียบง่ายและมีวินัย เขาถึงเข้าใจและรู้ซึ้งถึงความหมายของซามูไรที่เป็น “ผู้รับใช้” การเป็นซามูไรที่มีจิตวิญญาณคือทำหน้าที่เพื่อรับใช้คนอื่นโดยเฉพาะองค์พระจักรพรรดิ์

ต่อมาอัลเกรนกับคัทซึโมโตะพร้อมด้วยเหล่าซามูไรได้ไปเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิ์ ซึ่งก็เป็นกับดักของโอมูระ ที่ต้องการกำจัดซามูไรไปให้หมด คัทซึโมโตะถูกควบคุมตัวไว้ แต่อัลเกรนก็ได้ช่วยพาหลบหนีกลับมายังหมู่บ้านได้ แต่กองกำลังของทหารก็ติดตามมาเพื่อปราบให้หมดไป กองกำลังของซามูไรมีเพียง 500 คนที่มีแค่ดาบและธนู ซึ่งทุกคนก็รู้ตัวดี ว่าไม่มีทางสู้ได้ แต่ทุกคนก็พร้อมกันออกไปตาย...เพราะนั่นคือจิตวิญญาณของซามูไร อัลเกรนได้รับเกียรติให้ช่วยเหลือคัทซึโมโตะทำฮาราคีรี และนำดาบซามูไรมาถวายคืนองค์พระจักรพรรดิ์ ครูอยากให้ทุกคนกลับไปดูซ้ำอีกครั้ง และกลับเอาไปคิด

อยากให้อ่านบทประพันธ์เรื่องความกล้าหาญทำนองเดียวกันกับเหล่าซามูไรนี้...แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ผู้แต่งคือ Alfred, Lord Tennyson แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1854 เพียงไม่กี่นาที หลังจากที่ได้รับทราบความสูญเสียของทหารกล้า ไปจำนวนหนึ่งในทั้งหมด 600 นาย ที่พร้อมกันไปสู้ แม้รู้ตัวว่าจะไม่รอดกลับมา ซึ่งเป็นสงครามในคาบสมุทรไครเมีย ที่ต้องต่อสู้กับตุรกีและรัสเซียในปี 1854 – 1856 เนื่องจากทหารรัสเซียเข้ามายึดปืนจากทหารอังกฤษได้ Lord Raglan ก็สั่งให้กองพลน้อยทหารม้าเข้าโจมตี ซึ่งก็คิดผิด พวกทหารก็เข้าบุกทันที และก็สูญเสียเหล่าทหารนั้นไปเพียงแค่ไม่กี่นาทีเหมือนกัน การสูญเสียครั้งนั้นทำให้อังกฤษต้องเสียที่มั่นแนวหน้าส่วนใหญ่ไป ในการรบครั้งนั้น ถ้าไม่มีบทประพันธ์ชิ้นนี้เอาไว้ ทุกคนคงจะลืมพวกเขาไปแล้ว เพราะอังกฤษได้ยกเอาวีรสตรีขึ้นมายกย่องในการช่วยเหลือเหล่าทหารช่วงสงครามไครเมีย นั่นก็คือ Florence Nightingale

The Charge of the Light Brigade
Alfred, Lord Tennyson

1.
Half a league, half a league,
Half a league onward,
All in the valley of Death
Rode the six hundred.
"Forward, the Light Brigade!
"Charge for the guns!" he said:
Into the valley of Death
Rode the six hundred.
2.
"Forward, the Light Brigade!"
Was there a man dismay'd?
Not tho' the soldier knew
Someone had blunder'd:
Theirs not to make reply,
Theirs not to reason why,
Theirs but to do and die:
Into the valley of Death
Rode the six hundred.
3.
Cannon to right of them,
Cannon to left of them,
Cannon in front of them
Volley'd and thunder'd;
Storm'd at with shot and shell,
Boldly they rode and well,
Into the jaws of Death,
Into the mouth of Hell
Rode the six hundred.
4.
Flash'd all their sabres bare,
Flash'd as they turn'd in air,
Sabring the gunners there,
Charging an army, while
All the world wonder'd:
Plunged in the battery-smoke
Right thro' the line they broke;
Cossack and Russian
Reel'd from the sabre stroke
Shatter'd and sunder'd.
Then they rode back, but not
Not the six hundred.
5.
Cannon to right of them,
Cannon to left of them,
Cannon behind them
Volley'd and thunder'd;
Storm'd at with shot and shell,
While horse and hero fell,
They that had fought so well
Came thro' the jaws of Death
Back from the mouth of Hell,
All that was left of them,
Left of six hundred.
6.
When can their glory fade?
O the wild charge they made!
All the world wondered.
Honor the charge they made,
Honor the Light Brigade,
Noble six hundred.

Copied from Poems of Alfred Tennyson,
J. E. Tilton and Company, Boston, 1870

ยาวไปนิดหนึ่ง แต่ช่วงนี้เรากำลังมีปัญหาเรื่องการเมือง ทหาร ตำรวจกันอยู่ การได้ดูหนังฟังเพลง ปลุกใจ ให้เข้าใจในหน้าที่ และเป็นกำลังใจกัน ดูเขาแล้วก็กลับมาดูตัวเรากันบ้างค่ะ