รอบรั้ว การศึกษา กระบวนการกลุ่ม
Saturday, October 27, 2007
ย้อนหลังไปในปี 1970 (พ.ศ.2513) คณะกรรมาธิการของรัฐบาลสหรัฐ ศึกษาถึงเรื่องการมีประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ในรูปของกระบวนการกลุ่ม ในการศึกษาครั้งนั้น ต้องใช้ผู้ชำนาญการทางทหาร 30 นาย ไปศึกษาข้อมูลความลับและสืบหาความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงกันข้ามหรือศัตรู
ผู้ชำนาญการแต่ละคนได้วิเคราะห์ข้อมูลและรวบรวมเป็นรายงาน ส่งให้คณะกรรมาธิการเพื่อเป็นการทดสอบ คณะกรรมาธิการได้ให้ "คะแนน"ในแต่ละรายงานที่ส่งเข้าไปว่ามีคุณค่าหรือดีขนาดไหน แล้วก็พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วจาก 100 ข้อมูลงานวิเคราะห์ที่ส่งให้ มีเพียง 7 รายงานเท่านั้นที่ถูกต้องจริงๆ
จากนั้นก็ให้ผู้ชำนาญการแต่ละคนให้อ่านและพิจารณารายงานของคนอื่นๆ แล้วให้เขียนเข้ามาใหม่อีกครั้ง จากผลเฉลี่ยของความถูกต้องครั้งนี้ มีถูกต้อง 79 รายงานจาก 100 ที่ส่งเข้าไป
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างรายงานแรกและรายงานครั้งหลัง ทั้งๆที่ผู้ชำนาญการเหล่านั้นไม่มีข้อมูลใหม่ๆอะไรเลย ทั้งหมดที่เขารับทราบคือมุมมองของผู้ชำนาญการคนอื่นเท่านั้น เมื่อเขาเอามุมมองที่แตกต่างเหล่านั้นเข้ามารวมกับมุมมองเดิม ความถูกต้องเพิ่มเข้ามาถึง 10 เท่าตัวทีเดียว
ข้อมูลเรื่องนี้มีหลายหน้า แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเราเท่าไหร่นัก เพราะมันเป็นเรื่องในวงการวิศวกรรม ที่เขามองในเรื่องกระบวนการกลุ่มอย่างไร ในการศึกษาของเราเองก็ได้ปฏิบัติในเรื่องกระบวนการกลุ่มกันอยู่เป็นปกติ อยากพูดเรื่องนี้เพื่อที่จะเน้นถึงความสำคัญในการเรียนการสอนว่าเรายังต้องเอากระบวนการกลุ่มเข้ามาจัดการ เด็กๆยังต้องการกลุ่มเพื่อนที่มาปรึกษา แนะนำและช่วยกันทำงาน สังเกตดูเวลาเด็กเล่นฟุตบอลในสนาม เขาเล่นกันเป็นทีมที่เข้ากัน เขาแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ใครเป็นกองหน้า ใครเป็นแบ็ค ใครทำหน้าที่จ่ายลูกให้เพื่อนยิงประตู ใครเป็นคนเฝ้าประตู พวกเขาเองทั้งนั้นที่วางยุทธศาสตร์ของทีมเขา ในการเรียนก็เหมือนกัน ให้เขาเองเป็นคนวางแผนในการทำรายงานในเรื่องต่างๆทั้งหมด แล้วเราจะได้เห็นว่า ทีมที่ส่งงานเข้ามานั้น มีความสำเร็จในผลงานเขาขนาดไหน แน่นอนว่า ต้องดีกว่าทำคนเดียวแน่นอนค่ะ
Source : Jared M. Spool
Posted by
ครูพเยาว์
at
10:54 AM
Labels: การศึกษา, ทั่วไป ตามใจคิด