Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว การศึกษา ความรู้ที่จะให้ผู้เรียนคุ้นเคย

Tuesday, October 16, 2007


"ข้าวปั้น"....ลูกชายของคุณครูมณฑาทอง

ครูเองชอบชื่อทั้งสองชื่อนี้มาก เป็นชื่อที่แสดงออกถึงความเป็นไทยเต็มตัว ทั้งๆที่คุณครูมณฑาทองนี่มีชื่อจีนเป็นชื่อรอง เป็นครอบครัวไทยเชื้อสายจีนค่ะ ที่เกริ่นเรื่องนี้ก่อน เพราะตอนนี้ไม่ว่าใครก็ตื่นกับเรื่องการใช้ภาษาไทยของเด็กที่ค่อนข้างจะผิดเพี้ยน ซึ่งครูก็ได้เขียนเรื่องนี้ไว้บ้างก่อนหน้านี้แล้ว เห็นมั้ยคะว่าการใช้ภาษาไทยแม้แต่การตั้งชื่อก็บ่งบอกถึงความรักที่มีต่อภาษาของตัวเอง

ข้าวปั้น พูดกับคุณแม่ ถึงเรื่องการเรียน ต้องบอกว่า "ปรึกษา"กับคุณแม่ค่ะ ว่าคุณครูจะให้วาดรูปเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา จะวาดยังไงดี จะต้องมีรูปอะไรบ้าง คำตอบก็น่าจะเป็นวัด ข้าวปั้นก็ถามว่าแล้ววัดนี่วาดอย่างไร แม่ก็ตอบว่า ก็เหมือนกับบ้านนี่แหละ ให้มียอดแหลมๆ แล้วมีรูปอะไรอีกมั้ย แม่ถาม ข้าวปั้นก็บอกว่า มีดอกไม้ มีธูป มีเทียน...ซึ่งอันที่จริงถ้าข้าวปั้นจะวาดทั้งหมด ก็ต้องมีพระสงฆ์ มีพระพุทธรูป แต่การที่เด็กอนุบาล 1 ตอบได้แค่นี้ ก็ถือว่าพอใช้ได้ ถือว่ามีความรู้ที่ได้มาจาก"การคุ้นเคย" คุณพ่อคุณแม่พาไปวัดบ่อย ก็จะเห็นอะไรๆติดตามา จำได้ ความรู้เหล่านี้ถือเป็นความรู้ "ความเข้าใจที่คงทน" จะติดตัวเด็กตลอดไป

ยังไม่เห็นว่าข้าวปั้นจะวาดออกมาอย่างไร แต่ก็คิดว่า การที่ให้เด็กได้แสดงออกมาไม่ว่าในด้านใด มันก็เป็นผลดีทั้งนั้น เด็กเล็กๆของเราได้ตอบผลงานของการสอนของเราได้ขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่ว่าเราป้อนไปขนาดไหน และผลที่ได้เป็นอย่างไร

ไม่ว่าการสอนแบบ Understanding by Design หรือ Backward Design หรือจะเป็นแบบพุทธที่เอาแบบ อริยสัจ 4 มาเป็นตัวแบบในการสอน หรือจะเอาแบบ อิทัปปัจยตา เข้ามาประกอบ มันก็ไม่ได้ต่างกันนัก ตัวสุดท้ายก็จะลงไปที่ผลสัมฤทธิอยู่ดี ที่จริงแล้วก็ไม่อยากให้หวือหวาไปกับผลงานของฝรั่งมากนัก แบบไทยนี่ (แบบพุทธ)ถ้าทำกันจริงๆ มันก็ไม่น่าจะล้าหลังใครได้ จริงมั้ยคะ เข้าไปดูเถอะค่ะ ในผลงานของฝรั่งไม่ว่างานไหนๆที่เขียนออกมา คำถามแรกคือ "ปัญหาอยู่ตรงไหน" นั่นคือ "ทุกข์"ค่ะ....ทุกข์ของการเรียนการสอนของเราอยู่ตรงไหน แล้วก็หาทางแก้ไปค่ะ... Albert Einstein พูดเอาไว้ว่า "We can not solve our problems with the same thinking we used when we created them." คือปัญหามันจะเกิดขึ้นมาทีหลังทั้งนั้น หลังจากที่เราทำอะไรลงไปแล้ว จากนั้นถึงค่อยหาวิธีแก้ มีคนหัวใสในอเมริกา จับเอาคำพูดนี้เป็นสโลแกนของบริษัท เอาเรื่อง Six Sigma ออกมาเผยแพร่ ให้บริษัท หน่วยงานทางทหาร โรงเรียนต่างๆเอาไปใช้ ค่อยยังชั่วที่วงการศึกษาเมืองไทยไม่เห่อตามไปด้วย ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะคะ ดีค่ะ แต่ของเราก็มีดีอยู่แล้ว

ครูว่าจะพูดเรื่อง ข้าวปั้นวาดรูป แต่ยาวไปเป็นเรื่องภาษาไทยแล้วก็โยงไปที่การศึกษาอีก ถ้ามีรูปที่ข้าวปั้นวาดส่งคุณครู จะเอามาให้ดูทีหลังค่ะ

Posted by ครูพเยาว์ at 4:21 PM