รอบรั้ว วัดนาหลวง พระมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน
Wednesday, February 18, 2009
หลายคนที่สนใจในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึงวัดที่พูดได้ว่าบุกเบิกสั่งสอนลูกศิษย์อย่างเอาจริงเอาจัง ที่จังหวัดอุดรธานี ต้องนึกถึงวัดนาหลวง หรือวัดอภิญญาเทสิตธรรม หรืออีกชื่อหนึ่ง วัดภูย่าอู่ ทั้ง 3 ชื่อนี้เป็นวัดเดียวกัน ตามแต่ใครสะดวกจะเรียกว่าชื่อวัดอะไร หรือบางคนเรียกไปว่าวัดหลวงพ่อทองใบไปเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัดนี้ ตั้งอยู่บนภูเขา ที่เรียกว่าภูย่าอู่ อยู่ในหมู่บ้านนาหลวง หลวงพ่อ หรือหลวงปู่ทองใบ ท่านจะสอนในเรื่องธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อความรู้จริง อันได้แก่โพธิปักขิยธรรม 37 ชื่อเลยออกมาเป็นวัดอภิญญาเทสิตธรรมด้วยอีกชื่อหนึ่ง เห็นมั๊ยคะ แม้แต่ชื่อวัดก็เป็นเรื่องราวมาเล่าได้แล้ว
มาวันนี้ หลวงพ่อได้มีความประสงค์ที่จะสร้างวัดของท่านให้เป็น "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน" อันสืบเนื่องมาจาก ผู้คนจากทุกสารทิศได้เข้ามาศึกษา ฟังธรรมะท่าน มากขึ้นๆทุกวัน การอบรมเหล่าพุทธศาสนิกทุกหมู่เหล่า รวมทั้งพระ-เณร ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานที่จึงคับแคบลงถนัดตา
ตามใบประกาศของทางวัด ได้เขียนเอาไว้ว่า "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน เป็นการเปิดทาง วางหลัก วิธีการ งานพุทธ ยุทธศาสตร์ ปราชญ์อริยะเป็นแผนงานของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) เพื่อชี้ทางสะอาด สว่าง สงบ แก่สัตว์โลกทั้งหลายให้เดินไปอย่างถูกต้องตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน เป็นงานที่พระเดชพระคุณท่านได้กำหนดพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างตึกสามชั้น โดยใช้ชื่อว่า "บ้านอริยภูมิ" ในวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2552 เวลาเที่ยงตรง ท่านอาจารย์ท่านตั้งชื่อได้อย่างมีความหมายมาก สำหรับผู้ที่ไปฟังธรรมจากท่าน เหมือนกับไปสู่บ้านซึ่งเป็นบ้านของผู้มีธรรม ผู้ที่หลุดพ้นจากโลกของผู้มีกรรม ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกที่ยังแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ชิงรวย ชิงกันสร้างเวรหากรรมมาใส่ตัว การได้มานั่งอยู่ใน "บ้านอริยภูมิ" ตามความเห็นของครูนะ เท่ากับได้ตระหนักดีแล้วว่าข้างนอกนั้นล้วนแต่มีความทุกข์ ได้นั่งอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ ก็จะได้สดับตรับฟังหนทางที่หลวงพ่ออธิบายว่าเราต้องเดินอย่างไร ถึงจะพ้นจากกองทุกข์เหล่านั้นได้ บ้านนี้จึงเป็นบ้านที่เราทั้งหมด ควรสร้างเอาไว้ เผื่อให้ผู้อื่นที่ผ่านมาได้อาศัย ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปด้วย นับว่าเป็นบุญกุศลเป็นอย่างยิ่งค่ะ
บ้านอีกหลังหนึ่งที่หลวงพ่อได้สร้างไปแล้ว ตอนที่ครูไปดูก็จวนจะเสร็จแล้วเต็มที อีกไม่เกินอาทิตย์ก็คงจะเสร็จเรียบร้อยค่ะ เป็นตึกสองชั้น เป็นบ้านแจกภัตรชื่อ "บ้านอปัสเสนธรรม" ครูยังไม่เห็นว่ามีชื่อเขียนไว้ตรงไหนค่ะ ได้ยินแต่คนพูดกัน ว่าใช้ชื่อนี้ และก็ได้ถกกันกับพระอาจารย์ธงชัยซึ่งเป็นพระอาจารย์สอน อบรมอยู่ที่วัดด้วย ว่าชื่อนี้ถูกต้องหรือเปล่า ก็พอฟังได้ว่า ถ้าไปค้นกันในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ได้ตรงกันแล้วละก็ คงจะถูกต้องที่สุดแล้วค่ะ เลยอยากให้ดูความหมายของอปัสเสนธรรมค่ะ ว่ามีความหมายอย่างไร
[202] อปัสเสนะ หรือ อปัสเสนธรรม 4 (ธรรมดุจพนักพิง, ธรรมเป็นที่อิงหรือพึ่งอาศัย - virtues to lean on; states which a monk should rely on)
1. สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ ได้แก่ สิ่งของมีปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช เป็นต้นก็ดี บุคคลและธรรมเป็นต้นก็ดี ที่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ พึงพิจารณาแล้วจึงใช้สอยและเสวนาให้เป็นประโยชน์ - The monk deliberately follows or makes use of one thing.)
2. สงฺขาเยกํ อธิวาเสติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ มีหนาว ร้อน และทุกขเวทนาเป็นต้น พึงรู้จักพิจารณาอดกลั้น - The monk deliberately endures one thing)
3. สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายแก่ร่างกายก็ตาม จิตใจก็ตาม เช่น ช้างร้าย คนพาล การพนัน สุราเมรัย เป็นต้น พึงรู้จักพิจารณาหลีกเว้นเสีย - The monk deliberately avoids one thing.)
4. สงฺขาเยกํ ปฏิวิโนเทติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายเกิดขึ้นแล้ว เช่น อกุศลวิตก มีกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นต้น และความชั่วร้ายทั้งหลาย พึงรู้จักพิจารณาแก้ไข บำบัดหรือขจัดให้สิ้นไป - The monk deliberately suppresses or expels one thing.)
อปัสเสน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า อุปนิสัย 4 (ธรรมเป็นที่พึ่งพิง หรือธรรมช่วยอุดหนุน - supports; supporting states) เมื่อรู้จักพิจารณาปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องด้วยปัญญาตามหลักอปัสเสนหรืออุปนิสัย 4 อย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้อกุศลที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นไป และกุศลที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นไป
ภิกษุผู้พร้อมด้วยธรรม 4 ประการนี้ ดำรงอยู่ในธรรม 5 คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ท่านเรียกว่า นิสสยสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย - fully reliant).
จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ท้ายนี้ขอเชิญร่วมงานมหากุศล มหาทานบารมี พิธีวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน และทอดผ้าป่าสามัคคี หากท่านสนใจจะสร้างมหากุศลทานบารมี แต่ไม่สะดวกไปร่วมงานสามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาบ้านผือ อุดรธานี ชื่อบัญชี กองทุนพระมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน วัดนาหลวง เลขที่ 431-1-12308-6
มาวันนี้ หลวงพ่อได้มีความประสงค์ที่จะสร้างวัดของท่านให้เป็น "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน" อันสืบเนื่องมาจาก ผู้คนจากทุกสารทิศได้เข้ามาศึกษา ฟังธรรมะท่าน มากขึ้นๆทุกวัน การอบรมเหล่าพุทธศาสนิกทุกหมู่เหล่า รวมทั้งพระ-เณร ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานที่จึงคับแคบลงถนัดตา
ตามใบประกาศของทางวัด ได้เขียนเอาไว้ว่า "มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน เป็นการเปิดทาง วางหลัก วิธีการ งานพุทธ ยุทธศาสตร์ ปราชญ์อริยะเป็นแผนงานของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร) เพื่อชี้ทางสะอาด สว่าง สงบ แก่สัตว์โลกทั้งหลายให้เดินไปอย่างถูกต้องตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน เป็นงานที่พระเดชพระคุณท่านได้กำหนดพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างตึกสามชั้น โดยใช้ชื่อว่า "บ้านอริยภูมิ" ในวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธุ์ 2552 เวลาเที่ยงตรง ท่านอาจารย์ท่านตั้งชื่อได้อย่างมีความหมายมาก สำหรับผู้ที่ไปฟังธรรมจากท่าน เหมือนกับไปสู่บ้านซึ่งเป็นบ้านของผู้มีธรรม ผู้ที่หลุดพ้นจากโลกของผู้มีกรรม ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกที่ยังแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ชิงรวย ชิงกันสร้างเวรหากรรมมาใส่ตัว การได้มานั่งอยู่ใน "บ้านอริยภูมิ" ตามความเห็นของครูนะ เท่ากับได้ตระหนักดีแล้วว่าข้างนอกนั้นล้วนแต่มีความทุกข์ ได้นั่งอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ ก็จะได้สดับตรับฟังหนทางที่หลวงพ่ออธิบายว่าเราต้องเดินอย่างไร ถึงจะพ้นจากกองทุกข์เหล่านั้นได้ บ้านนี้จึงเป็นบ้านที่เราทั้งหมด ควรสร้างเอาไว้ เผื่อให้ผู้อื่นที่ผ่านมาได้อาศัย ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปด้วย นับว่าเป็นบุญกุศลเป็นอย่างยิ่งค่ะ
บ้านอีกหลังหนึ่งที่หลวงพ่อได้สร้างไปแล้ว ตอนที่ครูไปดูก็จวนจะเสร็จแล้วเต็มที อีกไม่เกินอาทิตย์ก็คงจะเสร็จเรียบร้อยค่ะ เป็นตึกสองชั้น เป็นบ้านแจกภัตรชื่อ "บ้านอปัสเสนธรรม" ครูยังไม่เห็นว่ามีชื่อเขียนไว้ตรงไหนค่ะ ได้ยินแต่คนพูดกัน ว่าใช้ชื่อนี้ และก็ได้ถกกันกับพระอาจารย์ธงชัยซึ่งเป็นพระอาจารย์สอน อบรมอยู่ที่วัดด้วย ว่าชื่อนี้ถูกต้องหรือเปล่า ก็พอฟังได้ว่า ถ้าไปค้นกันในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ได้ตรงกันแล้วละก็ คงจะถูกต้องที่สุดแล้วค่ะ เลยอยากให้ดูความหมายของอปัสเสนธรรมค่ะ ว่ามีความหมายอย่างไร
[202] อปัสเสนะ หรือ อปัสเสนธรรม 4 (ธรรมดุจพนักพิง, ธรรมเป็นที่อิงหรือพึ่งอาศัย - virtues to lean on; states which a monk should rely on)
1. สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ ได้แก่ สิ่งของมีปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช เป็นต้นก็ดี บุคคลและธรรมเป็นต้นก็ดี ที่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ พึงพิจารณาแล้วจึงใช้สอยและเสวนาให้เป็นประโยชน์ - The monk deliberately follows or makes use of one thing.)
2. สงฺขาเยกํ อธิวาเสติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ มีหนาว ร้อน และทุกขเวทนาเป็นต้น พึงรู้จักพิจารณาอดกลั้น - The monk deliberately endures one thing)
3. สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายแก่ร่างกายก็ตาม จิตใจก็ตาม เช่น ช้างร้าย คนพาล การพนัน สุราเมรัย เป็นต้น พึงรู้จักพิจารณาหลีกเว้นเสีย - The monk deliberately avoids one thing.)
4. สงฺขาเยกํ ปฏิวิโนเทติ (ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายเกิดขึ้นแล้ว เช่น อกุศลวิตก มีกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นต้น และความชั่วร้ายทั้งหลาย พึงรู้จักพิจารณาแก้ไข บำบัดหรือขจัดให้สิ้นไป - The monk deliberately suppresses or expels one thing.)
อปัสเสน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า อุปนิสัย 4 (ธรรมเป็นที่พึ่งพิง หรือธรรมช่วยอุดหนุน - supports; supporting states) เมื่อรู้จักพิจารณาปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องด้วยปัญญาตามหลักอปัสเสนหรืออุปนิสัย 4 อย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้อกุศลที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นไป และกุศลที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นไป
ภิกษุผู้พร้อมด้วยธรรม 4 ประการนี้ ดำรงอยู่ในธรรม 5 คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ท่านเรียกว่า นิสสยสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย - fully reliant).
จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ท้ายนี้ขอเชิญร่วมงานมหากุศล มหาทานบารมี พิธีวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน และทอดผ้าป่าสามัคคี หากท่านสนใจจะสร้างมหากุศลทานบารมี แต่ไม่สะดวกไปร่วมงานสามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาบ้านผือ อุดรธานี ชื่อบัญชี กองทุนพระมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตและนิพพาน วัดนาหลวง เลขที่ 431-1-12308-6
Posted by
ครูพเยาว์
at
6:02 PM
Labels: พุทธศาสนา, วัดอภิญญาเทสิตธรรม