รอบรั้ว การศึกษา
Saturday, December 6, 2008
ในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น นักการเมืองเขาเข้าไปดูกิจกรรมเรื่องต่างๆอย่างใกล้ชิด นับเวลาเป็นปี ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับรู้นโยบายที่ทางรัฐบาลได้ออกมาดำเนินการแล้ว การที่นักการเมืองฝ่ายค้านหรือเสียงข้างน้อยได้เข้าไปสังเกตการณ์นั้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การที่จะปรับปรุง พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่านโยบายเก่าที่กำลังดำเนินการ การศึกษาก็เหมือนกัน ในการหาเสียงของประธานาธิบดีโอบามา ท่านเอาใจใส่เรื่องนี้มากทีเดียว สังเกตจากการปราศรัยหลายๆครั้ง การศึกษาจะเป็นเรื่องที่อยู่ในลำดับของความสำคัญในการที่จะปรับปรุงให้ดี ยิ่งขึ้น
พูด ง่ายๆก็คือ การศึกษาของอเมริกันอ่อนด้อยลงมาก ถ้าเราติดตามข่าวในการแข่งขันทางวิชาการ เด็กอเมริกันจะแพ้เด็กทางเอเชีย แพ้จีน แพ้เกาหลี หรือแม้กระทั่งหนังสือคณิตศาสตร์บางรัฐ บางโรงเรียนของอเมริกายังต้องมาเอาของสิงคโปร์ไปใช้สอนอย่างนี้เป็นต้น และจากการที่นักการเมืองเข้าไปเจาะลึกถึงการล้มเหลวของการศึกษาของเขา พบกับความจริงแล้วก็ตกใจหนักเข้าไปอีก ในโรงเรียนมีการแบ่งเกรดทางสังคม การฟุ้งเฟ้อ เหลวแหลกทางจริยธรรม ถ้าเป็นเด็กอเมริกันสีผิวแล้วก็ยิ่งตกต่ำลงไปอีก อย่างเช่นเรียนอยู่เกรด 4 ยังอ่านหนังสือไม่ออกเลย พอๆกับบ้านเรา ที่เด็กเรียน ป. 4 ยังอ่านหนังสือไม่ออกก็มีให้เห็น
กลับ มาบ้านเรา งานด้านการศึกษาถือว่าเป็นงานที่สำคัญและด่วนที่สุดแล้ว...จะทำอะไรก็รีบทำ เสียเถอะ ขอให้ครูได้มีนโยบายที่มันเด่นชัด ที่จะปรับปรุงการศึกษาให้เราได้ก้าวหน้ายิ่งกว่านี้ ตอนนี้เด็กของเราจะอ่อนด้วยลงไปอยู่ระดับต่ำของเอเชียให้เข้าแล้ว การปรับคุณภาพการเรียนการสอน การปรับวิทยฐานะของครูก็ดูจะลักลั่น ไปไม่ถึงไหน ถ้าถามครูทุกๆคนที่กำลังคร่ำเคร่งอยู่กับการส่งรายงานผลงานทางวิชาการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะนั้น เราดำเนินถูกทางหรือเปล่า ครู เท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ทุ่มชีวิตอยู่กับการสอนเด็กที่แทบล้นห้องเรียน ใครจะคิดว่ามีโรงเรียนที่มีเด็กอยู่ในห้องหน้าสลอนอยู่ 50 คน แค่นี้ ถ้าไปดูผลสัมฤทธิ์ของเด็กแล้ว ประสบการณ์การสอนที่มีมานับสิบๆปีแล้ว จะให้ครูเหล่านั้นมานั่งทำผลงานด้านวิชาการในทำนองเดียวกันกับส่งผลงานเพื่อ ยกระดับให้เท่ากับผู้ช่วยศาสตราจารย์ มันมีเหตุผลพอไหม...มีครูบ่นเรื่องนี้ค่ะ เลยขอบ่นต่อให้ฟัง
เรา มีแนวคิดว่า ถ้าจะปรับปรุงการเรียนการสอนเด็ก ยกระดับของเด็กเราให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น ผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ก็ต้องยกระดับของครูที่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ อยู่ในระดับที่เรียกกันว่า Bench mark หรืออะไรทำนองนี้ ก็พอมีเหตุผลอยู่ แต่ ไม่ใช่ทั้งหมด จำนวนเด็กที่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ครูสามารถเจาะจงเด็กที่มีปัญหาในการเรียนได้อย่างพอเหมาะพอควร และให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านั้นได้ตามกำลัง นั่นก็คือเด็กต้องไม่มาจุกอยู่ในโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการ ติดตามตามความเป็นจริงว่าเด็กนักเรียนต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ครูสามารถดูแลได้ ครูคือผู้มาสั่งสอนวิชาการ ไม่ใช่มาดูแลม๊อบ รัฐเองต้องติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง ชาวอเมริกันเขาพูดว่า When it come to education in America, we need to start holding ourselves accountable. คือทุกคนนั้นต้องเอาใจใส่อย่างแท้จริง ไม่ว่ารัฐ โรงเรียน ผู้ปกครอง ศาสนา...ไม่มีใครที่จะบอกว่าไม่ใช่หน้าที่...ไม่ได้ ทุกคนจะต้องเริ่มทำหน้าที่ในส่วนของตัวเองให้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่นผู้ปกครองของเด็กนักเรียน ที่ไม่มีใครสามารถออกนโยบายว่าให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ได้ แต่ผู้ปกครองสามรถทำได้ ถ้ารักจะให้การศึกษาแก่ลูก โดยการ ปิดทีวีไม่ให้ลูกมอมเมาไปกับละครเน่าๆ ตัดเกมส์ต่างๆออกอย่าให้ลูกติดอยู่กับเกมส์เหล่านั้น ช่วยลูกในการอ่านหนังสือ ช่วยให้คำแนะนำในการทำการบ้าน ให้เข้าร่วมประชุมกับโรงเรียน อย่างนี้เป็นต้น
ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญเสียที...ได้ฟังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน พูดแล้ว ก็น่าจะเป็นทางออกให้ครูได้บ้าง ท่านพูดว่า “ปัญหาของการพัฒนาครูไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนหนึ่งมาจากการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ครูต้องอิงมาตรฐานหน่วยงานจากหลายองค์กร โดยเฉพาะการประเมินวิทยฐานะที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อให้ได้วิทยาฐานะนั้น จะต้องตอบคำถามให้กับสังคมด้วยว่า เมื่อครูผ่านการประเมินวิทยฐานะนักเรียนมีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ แต่ทุกวันนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามเรื่องดังกล่าวให้กับสังคมได้ ซึ่งเรื่องการพัฒนาครู การประเมินวิทยฐานะ และการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนจะต้องเชื่อมโยงกันได้” ก็จะคอยดูกันต่อไปว่าในการแก้ปัญหา หลังจากการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู ที่ได้ระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่ออกมาให้ความเห็นพ้องต้องกันว่า การปฎิรูปการศึกษาตลอด 9 ปีที่ผ่านมายังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ การปฏิบัติงานที่ไม่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้การพัฒนาไม่ไปในทิศทางเดียวกัน และจะจัดทำแผนพัฒนาแบบบูรณาการให้ทุกหน่วยเข้ามาช่วยกัน ซึ่งก็จะคอยดูว่า แผนจะออกมาอย่างไรใน 3 เดือนข้างหน้า...ที่ดีก็คือ การยอมรับว่าที่ผ่านมานั้น การพัฒนาครูยังไม่สำเร็จ และถ้าจะให้สำเร็จนั้นต้องทุกคนต้องเข้าร่วมมือกัน....มันช่างเหมือนกับการ ศึกษาของอเมริกาตอนนี้จังค่ะ
Labels: การศึกษา, ทั่วไป ตามใจคิด