Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ อาหารกับสารเคมี ตอนที่ 2

Sunday, September 16, 2007

๘๘๘๘๘สารปรุงรสใกล้ตัว พบได้บ่อยๆ ตามร้านอาหารที่ต้องพิจารณาก่อนการใช้คือ น้ำส้มสายชู พริกป่น ถั่วลิสงป่น โดยให้สังเกตลักษณะของสารเหล่านี้ เช่น น้ำส้มพริกดอง สีพริกต้องไม่ซีด และไม่เปื่อยยุ่ย น้ำส้มต้องไม่ขุ่น ส่วนพริกป่น กับ ถั่วลิสงป่น อาจมีเชื้อราอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งจึงควรหลีกเลี่ยง




๘๘๘๘๘น้ำส้มสายชูที่กินได้อย่างปลอดภัยมี 2 ชนิด คือ น้ำส้มสายชูแท้และน้ำส้มสายชูเทียม


น้ำส้มสายชูแท้ มี 2 ชนิด ได้แก่ น้ำส้มสายชูหมักกับน้ำส้มสายชูกลั่น


ส่วนน้ำส้มสายชูปลอม ซึ่งทำจากกรดกำมะถันผสมน้ำมีฤทธิ์กัดอย่างรุนแรง ห้ามกินเด็ดขาด


๘๘๘วิธีทดสอบน้ำส้มสายชูว่ากินได้อย่างปลอดภัยหรือไม่นั้น ทำได้โดยหยดสารละลายเยนเชียน ไวโอเลตลงไป ถ้าไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าเป็นน้ำส้มสายชูแท้ หรือน้ำส้มสายชูเทียมที่กินได้ ถ้าเปลี่ยนจาก สีม่วงเป็น สีเขียวแสดงว่าเป็นน้ำส้มสายชูปลอมที่กินไม่ได้




๘๘๘๘๘สารที่ทำให้เกิดสี มี 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติซึ่งได้จากพืชและสัตว์ กับสีที่ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี ซึ่งมี 2 พวก คือสีผสมอาหาร กับ สีย้อม


๘๘๘๘๘สีย้อมเป็นสีที่ทำให้เกิดสีในวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ เส้นใย ผม หนัง


สารแต่งสีอาหาร เป็นสารที่ช่วยเพิ่มสีสัน ทำให้อาหารมีสีน่ารับประทาน สีที่ใช้ผสมอาหารมีทั้งสีธรรมชาติจากพืชบางชนิดและสีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารเท่านั้น ห้ามใช้สีย้อมผสมในอาหารโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายไม่ควรผสมสีในอาหาร ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรเป็นสีจากธรรมชาติหรือสีสำหรับผสมอาหาร แต่ต้องใช้ในปริมาณน้อยที่สุด

Posted by ครูพเยาว์ at 11:17 AM