Daisypath Anniversary tickers

รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ พืชในท้องถิ่น

Tuesday, July 3, 2007


ลูกๆคะ วันนี้คุณครูจะมาพูดเรื่องพืชอีก เพราะในอาทิตย์นี้จะเข้าสู่บทเรียนนี้แล้ว หลังจากที่ดูหนังไปบ้าง ไปวัดกันบ้างเสีย 2-3 วันค่ะ จะมาพูดเรื่องพืชในท้องถิ่นค่ะ เราจะเห็นว่าพืชมีมากมายหลายชนิด พืชแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน แต่พืชเหล่านี้ก็มีลักษณะบางประการที่เหมือนกันด้วย ดังนั้นจึงสามารถใช้ลักษณะที่เหมือนกันของพืชเป็นเกณฑ์ในการจำแนก เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของพืช ถ้าเราจะสังเกตุสักหน่อยนะคะ เราจะพบว่าสามารถจำแนกหรือแยกกันได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆค่ะ ได้แก่
1. พืชมีดอก-พืชไม่มีดอก

2. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว-พืชใบเลี้ยงคู่

จำให้แม่นๆนะคะว่าเราจำแนกพืชออกเป็นกี่พวก ทีนี้ก็มาดูรายละเอียดค่ะว่ามันเป็นอย่างไร

***พืชมีดอก...คือพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มีส่วนของดอกสำหรับใช้ในการผสมพันธุ์ เพื่อให้เกิดเป็นต้นพืชใหม่ พืชมีดอกจัดเป็นพืชชั้นสูง เพราะมีส่วนประกอบสำคัญๆคือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผลและเมล็ด ตัวอย่างของพืชมีดอกเช่น ทานตะวัน มะม่วง ชมพู่ มะละกอ กุหลาบ กล้วยไม้ เป็นต้น

***พืชไม่มีดอก...หรือพืชไร้ดอก คือพืชที่ไม่มีดอกเลย ตลอดการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม พืชจำพวกนี้จึงไม่มีดอกสำหรับใช้ในการผสมพันธุ์ แต่จะสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ซึ่งจะงอกเป็นพืชต้นใหม่ได้ ตัวอย่างพืชไม่มีดอก เช่น เฟิร์น สน ปรง ผักกูด ผักแว่น เป็นต้น

***พืชใบเลี้ยงเดี่ยว...นอกจากจะเอาดอกมาเป็นเกณฑ์การจำแนกแล้ว เราใช้ลักษณะส่วนประกอบต่างๆมาใช้อีก คือพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่จะแตกต่างกัน
ลักษณะพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีดังนี้ค่ะ
1. มีใบเลี้ยง 1 ใบ
2. ลักษณะของเส้นใบเรียงแบบขนาน
3. มีระบบรากฝอย
4.ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน และไม่มีการเจริญทางด้านข้าง
***พืชใบเลี้ยงคู่...แทบจะอยู่ฝั่งตรงกันข้ามเลยก็ว่าได้ค่ะ สำหรับความแตกต่างของลักษณะ อ่านดูนะคะ
ลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่ค่ะ
1. มีใบเลี้ยง 2 ใบ....เห็นมั้ยคะ ว่ามันต่างกันแล้วจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
2. ลักษณะของเส้นใบเป็นร่างแห....ต่างกันอีก
3. มีระบบรากแก้ว....อีกละที่ต่างไป
4. ลำต้นไม่มีข้อปล้อง และมีการเจริญเติบโตออกทางด้านข้าง ถ้าเป็นคนก็ถือว่าอ้วนค่ะ แต่นี่เป็นพืชก็ต้องบอกว่าลำต้นใหญ่ค่ะ ต่างกันอีกนะคะ

เรื่องสั้นนิดเดียวนะคะ ในเรื่องพืชในท้องถิ่น หรือจะเรียกว่าการจำแนกพืช ลูกๆอ่านทุกตัวอักษรเลยนะคะ ทุกคำคือคำตอบในข้อสอบค่ะ ง่ายนิดเดียวนะคะ

Posted by ครูพเยาว์ at 6:20 PM