รอบรั้ว พุทธศาสนา วันธรรมสวนะ
Tuesday, February 19, 2008
วันธรรมสวนะ คือวันกำหนดประชุมฟังธรรม หรือที่เรียกว่า วันพระ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ 4 วัน ในเดือนๆหนึ่ง คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ วันทั้ง 4 นี้ ถือเป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมโดยปกติ
การเข้าร่วมกิจกรรมในวันธรรมสวนะและหลักปฏิบัติ
1.ไปทำบุญที่วัด เข้าร่วมทำวัตรและรักษาอุโบสถศีล
2.ฟังพระธรรมเทศนา และร่วมสนทนาธรรมกับพระสงฆ์หรือผู้รู้
3.บำเพ็ญสมาธิภาวนา
นี่คือบทสรุปสั้นๆของวันธรรมสวนะ สำหรับในชั้นเรียนนี้ แต่ครูขอเติมอีกสักนิดค่ะว่า เดี๋ยวนี้สำหรับคนที่ต้องไปทำงาน นักเรียนที่ต้องไปเรียน ต้องห่างเหินวัด ไม่เหมือนกับในสมัยก่อน เพราะเราไม่ได้หยุดไปประกอบศาสนกิจ ฟังเทศฟังธรรมกันในวันพระ เราจะได้ไป ก็ในเฉพาะวันที่สำคัญจริงๆ อย่างเช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา อะไรอย่างนี้
เล่าย้อนหลังไปในอดีตสักช่วงหนึ่ง ในปี 2479 (ครูยังไม่ได้เกิดนั่นแหละ) สมัยโน้นทางราชการเขาให้หยุดเรียนในวันพระนะคะ นี่แสดงว่านักเรียนรุ่นคุณปู่ คุณพ่อของครู เขาได้ไปวัดกัน เพราะโรงเรียนเขาปิดให้ ตอนครูยังเด็กครูเองก็ได้ไปวัดกับคุณยายของครูอยู่เป็นประจำ ต้องไปนอนวัด ถืออุโบสถศีลหรือศีล 8 ในวันนั้น ข้าวเย็นนี่ต้องอดค่ะ นั่นเพราะเนื่องมาจาก ในสมัยโน้น เขาให้ความสำคัญกับการปฏิบัติศาสนกิจ จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป สำหรับคนที่เอาใจใส่ในหลักของศาสนาแล้ว ก็ต้องไป เอาเป็นว่า ยังไงๆเสีย ปู่ย่าตายายของเราก็ต้องชวนเราไปวัด จนกระทั่ง ถึงเดือนตุลาคม 2500 ก็ได้มาเปลี่ยนแปลงมาหยุดในวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการทำงานแบบชาติตะวันตก จนถึงบัดนี้ก็ 51 ปีเข้าไปแล้ว แล้วเป็นอย่างไร....เดี๋ยวนี้ ถ้าจะฟังเทศฟังธรรม ก็ต้องไปหาวัดกันเองในวันหยุด....อย่างครูนี่ก็ต้องไปโน่นค่ะ...อำเภอบ้านผือ วัดนาหลวง วัดอภิญญาเทสิตธรรม เดือนละครั้ง คือทุกวันเสาร์ ที่ 2 ของเดือน จากเดือนละ 4 ครั้ง เหลือเดือนละครั้ง แต่ก็เอาละ ถือว่าพอได้ไปวัดไปวากับเขาบ้าง... แต่ถ้าเราเอาการปฏิบัติศาสนกิจของเรา ไปเทียบกับประเทศศรีลังกา...ครูว่าเขาเอาใจใส่มากกว่าบ้านเรานะคะ เท่าที่ครูได้อ่านมา เขาจะหยุดในวันพระขึ้น 15 ค่ำด้วย และเพื่อความยุติธรรมกับศาสนาอื่น ของฮินดู 3 วันของมุสลิม 3 วัน ของคริสต์ 2 วัน หยุดให้ด้วย แล้วประธานาธิบดีของเขาก็ไปวัด การทำบุญ สวดมนต์ก็ถ่ายทอดทางทีวีไปทั่วประเทศ ครูอยากให้ประเทศเราทำอย่างนั้นด้วยค่ะ แถมประเทศเขาเป็นตัวตั้งตัวตี ให้สหประชาชาติถือว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลอีก (International Recognition of Vesak) โดยมีเราและประเทศต่างๆที่นับถือศาสนาพุทธร่วมมือกันเสนอ แล้วก็สำเร็จ ประเทศเขามีชาวพุทธประมาณ 18 ล้านคนค่ะ เห็นมั้ยคะ ว่าเขาใส่ใจกับศาสนาพุทธกันขนาดไหน
รูปที่เอามาให้ดู เป็นรูปของประธานาธิบดีของศรีลังกา ที่นั่งฟังเทศน์ในทำเนียบค่ะ
อ้างอิง//พระเทพโสภณ// http://oldwww.mcu.ac.th/vesak/history_article2_sub1_th.html?trnslang=th
Photo//http://www.dmc.tv/pages//Srilanka_Buddhist_holy_day.html
รอบรั้ว ประวัติศาสตร์ เกาะหมาก ปีนัง
Saturday, February 16, 2008
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ครูได้รับของฝากจากเพื่อนๆครูหลายๆคน ที่ซื้อมาฝากจากมาเลเซีย จากการที่คณะครูได้ไปศึกษา-ดูงาน ที่สิงคโปร์และมาเลเซีย ของฝากชิ้นหนึ่งที่เตะตาครู คือพวงกุญแจ ของปีนัง มันทำให้เราคิดถึงเมืองนี้ไม่ได้ ถ้าเราศึกษาเรื่องการเสียดินแดน ของประเทศไทย.... เราได้เสียดินแดนเกาะนี้ไป นับเป็นอันดับแรกทีเดียว ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถ้าถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2551 เมื่อไหร่ละก็ ครบ 222 ปีพอดี คำนวณตัวเลขเอาก็แล้วกันว่าตั้งแต่ พ.ศ. เท่าไหร่ค่ะ เมื่อก่อนเป็นเมืองของไทย ชื่อว่า เกาะหมาก อังกฤษได้ขอเช่าไป เมื่อตกไปเป็นของมาเลย์ ก็เปลี่ยนชื่อเป็นปีนัง ซึ่งก็แปลว่าหมากเหมือนเดิม
เกาะหมาก ในการปกครองของอังกฤษนั้นก็เจริญรุ่งเรื่อง มีชาวไทยภาคใต้ได้ส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือกันที่นั่น เพราะจะได้มีความรู้ ภาษาจีน และอังกฤษดี คนรุ่นก่อนๆของครอบครัวครู ก็เรียนหนังสือกันที่นั่นเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด โรงเรียนที่มีชื่อ คือ จุงหลิง สอนเกี่ยวกับเรื่องพาณิชย์ ธุรกิจ การที่ไม่ได้ส่งลูกหลานมาเรียนในกรุงเทพ เหมือนกับทุกวันนี้ ก็เพราะการเดินทาง เป็นสาเหตุ อันหนึ่งเหมือนกัน จะไปกรุงเทพซักครั้ง ดูว่ามันไกล จากภาคใต้ ถ้าเอาฝั่งด้านอันดามัน จากภูเก็ต จะไปเกาะหมากมันง่าย จากตรังก็ไปที่ท่าเรือกันตัง มันก็ใกล้ ซึ่งถ้าดูจากระยะทางจากกรุงเทพ ถึงเกาะหมากแล้ว การดูแล เรื่องการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็ต้องบอกว่า แทบจะปล่อยให้เป็นอิสระไปเลยทีเดียว ยังเสียดายมั้ยคะ กับสูญเสียเกาะหมาก เสียดายค่ะ เพราะคนไทยยังตกค้างที่นั่น ยังมีอยู่
ถ้าใครไปภูเก็ต ไปที่เขารังจะผ่านถนน คอซิมบี้ด้วย คุณครูที่ไปปีนัง ไม่ทราบว่าได้ผ่านถนนที่ชื่อว่า คอซิมบี้ หรือเปล่า (Jalan Khaw Sim Bee) นั่นเป็นชื่อถนน ที่เขาเอาชื่อของคนไทย เชื้อสายจีน ไปตั้งเป็นชื่อถนนค่ะ คอซิมบี้ก็คือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ท่านผู้นี้คือเจ้าเมืองตรัง และต่อมาได้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สมัยก่อนบ้านของท่านอยู่ที่นั่น เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่ายังอยู่กันหรือเปล่า แต่ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 ยังมีอยู่ เพราะกรมสมเด็จพระยาดำรงฯ เสด็จลี้ภัยอยู่ที่บ้านของพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง-เจ้าเมืองระนอง) ประมาณปี 2476 เอาละค่ะ ให้พอเป็นที่สังเกตจากชื่อต่างๆของคนที่มีบ้านเดิมอยู่ปีนังตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ว่าเป็นคนไทย เชื้อสายจีน ซึ่งในภาคใต้แล้ว มีจำนวนมาก รูปภาพข้างบนนั่น ที่เอามาประกอบเรื่องเป็นทางแยกระหว่างถนนเวสต์แลนด์และถนน คอซิมบี้ในปีนังค่ะ จะเห็นว่าเป็นถนนแคบๆ เหมือนๆกับภูเก็ต และมารยาทการจอดรถยนต์ก็ทำให้คนที่นั่น รำคาญกันพอสมควรค่ะ
เอาเรื่องเกาะหมากและคนไทยในเกาะหมากมาพูดพอสมควรแล้ว และได้พูดถึงเรื่องการเสียดินแดน ถึงไหนๆแล้ว ก็พูดถึงเรื่องการเสียดินแดนทางภาคใต้อีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะครบ 100 ปี ในเดือนหน้า คือ วันที่ 10 มีนาคม 2551 เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เราเสียรัฐกลันตัง ตรังกานูและปลิสให้แก่อังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจศาลไทย ที่จะบังคับคนอังกฤษในประเทศไทย จะเห็นว่าในสมัยก่อนโน้น การเข้ายึดดินแดน เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่มีอำนาจทางทหาร ด้านอาวุธ เข้ามายังกับโจรปล้น ไอ้เสือเอาวา!!!! แล้วก็ปล้นชิงเอา ซึ่งๆหน้า สู้ไม่ได้ก็ยอมๆไป...แต่เดี๋ยวนี้ เขามีวิธีรุกแบบใหม่ เข้ามาทางด้านเศรษฐกิจ ลูกๆดูซิคะ ว่าเขาเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรของเราไปอย่างไร แล้วเราก็ยินดีไปด้วย แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ว่าเขาเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากบ้านเมืองเราไป ไม่ว่าด้านไหน ธนาคาร ร้านค้า เครื่องดื่ม อาหาร ของขบเคี้ยว ฯลฯ เราต้องจ่ายเงินซื้อ แล้วเงินนั้นก็หายไปในต่างประเทศ ลูกๆต้องขยัน เรียนหนังสือ พัฒนาบ้านเมืองของเรา สร้างของๆเราเอง ไม่ต้องพึ่งต่างชาติ ถ้าเราเก่งแล้ว เราก็จะสู้กับต่างชาติได้ ดูอย่างสิงคโปร์ซิคะ เล็กนิดเดียว แต่คนของเขาเก่ง มีความรู้ มีการศึกษา พัฒนาประเทศจนมีอำนาจทางเศรษฐกิจ ขยายอิทธิพลไปทั่ว เราเอง ก็ยังเสียเปรียบอยู่เลยค่ะ
เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว ครูก็ต้องมาพูดย้ำอีกละค่ะ ว่า ลูกๆที่จะไปเป็นอนาคตของชาติในวันข้างหน้า ต้องดูแลบ้านเมืองของเรา ไม่อยากให้ประเทศของเราต้องเสียเปรียบเขา เราเองต้องพัฒนา ต้องขยันหมั่นเพียร ในช่วงวัยเรียน ก็ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด คือเรียน เรียน เรียนและเรียน ต้องรักกันให้มาก อย่าแตกแยกกัน แม้จะมีความคิดเห็นต่างกัน ต้องฟังคนอื่นด้วย แล้วเอามาคิดพิจารณา ว่าความคิดของคนอื่นนั่น ผิดหรือถูก นะคะ
อ้างอิงจาก//ส.ศิวรักษ์ http://www.sulak-sivaraksa.org/th/index.php?option=com_content&task=view&id=448&Itemid=3
หอมมรดกไทย/ทำเนียบหัวเมืองของไทย// http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/city/city.html
Photo//http://www.penang360.blogspot.com/
Labels: ทั่วไป ตามใจคิด, ประวัติศาสตร์
รอบรั้ว ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย
Sunday, February 10, 2008
(พุทธทาสภิกขุ. ในวาทกรรมทางการเมือง รวบรวมโดย ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)
Labels: ประชาธิปไตย
รอบรั้ว พุทธศาสนา วันมาฆบูชา
Saturday, February 9, 2008
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะการทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๕. ความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
รอบรั้ว พุทธศาสนา วิธีฝึกสมาธิในชีวิตประจำวัน
เมื่อนักเรียนมีสติอยู่กับตัว ก็ควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ระมัดระวังรอบคอบ ตั้งมั่นอยู่ในความดีเสมอ
3. วิธีฝึกสมาธิในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน
1. การฟัง ฟังด้วยใจจดจ่อและความสนใจ จับใจความว่าผู้พูดพูดเรื่องอะไรมีประโยชน์อย่างไร
2. การอ่าน กำหนดสติว่าเรากำลังอ่านเรื่องเกี่ยวกับอะไรมีสาระสำคัญอะไรบ้าง
3. การคิด เมื่อฟังหรืออ่านแล้วต้องคิดพิจารณาตามอย่างมีเหตุผล
4. การถาม เมื่อฟังหรืออ่านเกิดความสงสัย ควรถามครูหรือผู้ที่มีความรู้เพื่อความกระจ่าง
5. การเขียน เขียนด้วยความรอบคอบ มีสมาธิจดจ่อ เพื่อบันทึกความรู้ที่ถูกต้องตามสิ่งที่ได้ฟัง ได้อ่าน ได้คิดหรือถามมา
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นว่าถ้าใครปฏิบัติได้ ก็จะมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าไปทุกทางเลยค่ะ ไม่ว่าในด้านใด ลูกๆต้องฝึกปฏิบัตินะคะ เพราะว่า การฝึกจิตให้มีสติ - สัมปชัญญะและให้มีสมาธินั้น จะทำให้จิตใจผ่องใสและร่างกายสดชื่น ไม่มีความเครียด ดำเนินชีวิตด้วยความหนักแน่น อยู่ในความดีเสมอ ถ้าจิตของเราเป็นสมาธิแล้วจะคิดอ่านหรือศึกษาอะไรก็ทำได้ทะลุปรุโปร่งทำให้เกิดปัญญา ประสบผลสำเร็จในชีวิตอยู่เสมอ
รอบรั้ว พุทธศาสนา ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา
You can teach yourself in a matter of minutes by following a few simple steps
Posted Sunday, July 27, 2003
2. CLOSE YOUR EYES (หลับตาลง เพื่อที่จะไม่ให้มีสิ่งเร้าเข้ามากระทบ)
3. PICK A WORD, ANY WORD (หาคำที่จะกล่าวบริกรรม สักคำ อะไรก็ได้)
4. SAY IT AGAIN AND AGAIN (แล้วก็ท่องบริกรรมไป เพื่อช่วยให้มีสมาธิ)
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ทึ่งนั่งสมาธิ
ศาสตราจารย์ริชาร์ด เดวิดสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ทำการทดลองสแกนคลื่นสมองของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมมามากกว่า 10,000 ช.ม. ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "Magnetic Resonance Imaging" เปรียบเทียบกับผู้ฝึกสมาธิในขั้นเริ่มต้น พบว่าพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำจะมีคลื่นสมองที่เป็นระเบียบมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นการทดลองยังพบอีกว่า ในระหว่างที่ทำสมาธิอยู่นั้น ในกลุ่มพระสงฆ์จะมีคลื่นสมองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มผู้ที่ฝึกสมาธิในระยะเริ่มต้นมีคลื่นสมองเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวถูกนำเสนอไปที่ประชุมหัวข้อ "จิตใจและชีวิต" ครั้งล่าสุดที่ประเทศอินเดีย ซึ่งมีองค์ทะไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งทิเบต เป็นประธานในการประชุม เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยได้รับความสนใจทั้งจากนักวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ และผู้ศึกษาธรรมะเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติธรรมหรือทำสมาธิที่มีต่อร่างกายไว้เช่นกัน เช่น เฮอร์เบิร์ท เบนสัน ศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการทดลองโดยสังเกตผู้นั่งสมาธิ จำนวน 35 คน เพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อุณหภูมิผิวหนัง พบว่าช่วงที่นั่งสมาธิพวกเขาใช้ออกซิเจนลดลง 17% มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง 3 ครั้งต่อนาที และมีอัตราคลื่นสมองเกิดขึ้นเช่นเดียวกับผู้ที่นอนหลับ เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำสมาธิเป็นประจำยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี เกร็ก จาร์ค็อป ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฮาร์วาร์ดเช่นกัน ได้ทำการทดลองโดยแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ทำสมาธิ กลุ่มที่ 2 ให้ฟังเทปจากการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาผ่อนคลาย พบว่าหลายเดือนต่อมากลุ่มแรกมีคลื่นสมองเกิดขึ้น เหมือนช่วงเวลานอนหลับ เนื่องจากการนั่งสมาธิจะไปลดการทำงานของสมองส่วนบนที่รับรู้เรื่องเวลาและสถานที่
ด้าน นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย ผู้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมะและสมาธิ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนทั่วไปใช้จิตหรือเซลล์สมองไม่เกิน 7% ของศักยภาพที่มีอยู่ทั้งหมด ขณะที่ผู้เป็นอัจฉริยะระดับโลกก็ใช้เซลล์สมองเพียง 8-10% เท่านั้น เห็นได้ชัดว่าหากมนุษย์พัฒนาศักยภาพของสมองเพื่อนำเซลล์สมองที่ไม่ได้ถูกใช้ ซึ่งมีอีกถึงกว่า 90% ก็น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความคิดได้อีกมากมาย
เมื่อยังเด็กสมองทั้งในส่วนที่เป็นเหตุเป็นผลและจินตนาการของคนส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน แต่เมื่อโตขึ้นสมองซีกซ้ายที่ควบคุมการทำงานด้านเหตุผลกลับโตอยู่ข้างเดียว ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของสมอง ต้องหมั่นเจริญสติสัมปชัญญะ นั่งสมาธิหรือปฏิบัติธรรม ด้วยการปล่อยจิตให้เหมือนกระดาษเปล่า หรือแก้วน้ำที่ว่างเปล่า เปิดใจรับทุกอย่างตามความเป็นจริง โดยไม่ตั้งกรอบใดๆ ไว้ และปล่อยความคิดให้ลื่นไหลสำหรับการสร้างสรรค์ นั่นคือการใช้ศักยภาพสมองของสมองซีกขวา อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของสมองโดยรวมต่อไป.
Labels: พุทธศาสนา, วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว พุทธศาสนา วิธีฝึกปฏิบัติการบริหารจิตและเจริญปัญญา
Friday, February 8, 2008
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ข้าพเจ้าของอภิวาทพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น (กราบ 1 ครั้ง)
พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมอันดีเลิส
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ 1 ครั้ง)
พระสงฆ์คือสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ 1 ครั้ง)
รอบรั้ว พุทธศาสนา การสวดมนต์ไหว้พระ
รอบรั้ว พุทธศาสนา การบริหารจิตและเจริญปัญญา
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ ประโยชน์ของดิน
Thursday, February 7, 2008
Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ ปัญหาการใช้ดิน และการบำรุงรักษาดิน

Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ องค์ประกอบและชนิดของดิน

ดินมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่างคือ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ อากาศ และน้ำ
1.) สารอินทรีย์ ได้จากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวทับถมอยู่ในดินของซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือน แมลง จุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ช่วยให้ดินมีลักษณะร่วนซุย มีสีดำหรือสีน้ำตาล ที่เรียกว่า ฮิวมัส (Humus) มีประมาณ 5 %
จากการรวมตัวกันขององค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และเกิดในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้ดินเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช

Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ จักรวาลและกาแล็กซี
Monday, February 4, 2008
Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ การกำเนิดของดิน
Sunday, February 3, 2008
กำเนิดของดิน

กระบวนการทำลาย
หมายถึงกระบวนการที่ทำให้หิน แร่ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ เกิดการอ่อนตัวลง สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือเปลี่ยนไปเป็นสารใหม่ และทับถมรวมตัวกันเกิดเป็นวัตถุต้นกำเนิดดินขึ้น ซึ่งอาจเกิดอยู่กับที่ หรืออาจถูกพาหะต่างๆ พัดพาออกไปจากที่เดิมและไปสะสมรวมตัวกันใหม่ในแหล่งอื่นก็ได้
กระบวนการสร้างตัวของดิน
คือกระบวนการที่ทำให้เกิดพัฒนาการของลักษณะต่างๆที่ปรากฏอยู่ในดิน เช่น สีดิน เนื้อดิน โครงสร้าง ความเป็นกรดเป็นด่าง รวมถึงการเกิดเป็นชั้นต่างๆ ขึ้นในหน้าตัดดิน ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกถึงตวามแตกต่างของดินแต่ละชนิดแต่ละประเภท และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปถึงชนิดของวัตถุต้นกำเนิด กระบวนการ และผลของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการสร้างตัวของดิน ณ บริเวณนั้น อาทิเช่น สีของดินมีความสัมพันธ์กับ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และความเปียกแห้งของดิน โดยทั่วไปดินที่มีสีคล้ำควรจะมีอินทรียวัตถุมากกว่าดินสีจาง สีเทาที่ปรากฏอยูในหน้าตัดดินบ่งบอกถึงสภาวะที่ดินมีการขังน้ำ หรือการพบจุดสีประในดินบ่งบอกถึงสภาพที่ดินมีการเปียกสลับแห้ง เป็นต้น
โดยสรุปจึงอาจกล่าวได้ว่า ดินเป็นผลลัพธ์โดยตรงของหิน แร่ ที่สลายตัวผุพังแล้ว ทับถมกันเกิดเป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน เมื่อผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ และผ่านกระบวนการทางดิน จะปรากฏลักษณะและเกิดเป็นชั้นดินต่างๆ ขึ้น ซึ่งเราสามารถประเมินคุณสมบัติและจำแนกดินออกเป็นชนิดๆ ได้โดยการศึกษาลักษณะ และชั้นดินต่างๆ ที่เรียงต่อเนื่องกันจากข้างบนลงไปข้างล่างจนถึงชั้นหินที่สลายตัวหรือชั้นของวัตถุอื่นๆ
ชั้นต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในหน้าตัดดิน แบ่งเป็นชั้นดินหลักได้ 5 ชนิดด้วยกัน คือ O-A-E-B-C แต่ชั้นที่เป็นองค์ประกอบหน้าตัดดินอาจมีชั้น R อยู่ใต้สุดของชั้นดินหลักด้วย โดยทั่วไปแล้วชั้น R ถือว่าเป็นชั้นหินพื้น (bed rock) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับชั้นดินหลักตอนบนหรือไม่ก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดและกระบวนการทางธรณีที่เกี่ยวข้อง ชั้นดินหลักต่างๆ มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้

ชั้น O หรือชั้นดินอินทรีย์ ตามปกติจะอยู่ตอนบนสุดของหน้าตัดดิน เป็นชั้นที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุเป็นส่วนใหญ่ มีสีค่อนข้างดำจัด ประกอบด้วยเศษซากพืชต่างๆ ที่ยังไม่ผุพังสลายตัว หรือมีการสลายตัวบ้างแล้วเป็นบางส่วนชั้นดินแบบนี้มีอยู่แต่เพียงในสภาพของป่าไม้หรือทุ่งหญ้าที่สามารถให้อินทรียวัตถุได้เป็นจำนวนมากเท่านั้น
Oi เป็นชั้นวัสดุอินทรีย์ที่ซากพืชหรือสัตว์มีการสลายตัวเพียงเล็กน้อย ยังสามารถสังเกตเห็นลักษณะดั้งเดิมได้
Oe เป็นชั้นวัสดุอินทรีย์ที่ซากพืชหรือสัตว์มีการสลายตัวปานกลาง
Oa เป็นชั้นวัสดุอินทรีย์ที่ซากสารอินทรีย์มีการสลายตัวมาก จนไม่สามารถสังเกตเห็นลักษณะดั้งเดิมได้
ชั้น A เป็นชั้นดินแร่ (mineral horizon) เกิดอยู่บนผิวหน้าของดิน หรือใต้ชั้น O ลักษณะเด่นของชั้นดิน A คือเป็นชั้นที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้วผสมคลุกเคล้าอยู่กับแร่ธาตุในดิน มีสีคล้ำ หรืออาจพบลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีการไถพรวน
ชั้น E หรือ ชั้นชะล้าง เ ป็นชั้นดินบนตอนล่างที่มีการชะละลาย (leaching) หรือมีการเคลื่อนย้ายออก(eluviation) มากที่สุดของวัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียว เหล็ก และอะลูมินัมออกไซด์ เป็นผลให้เกิดการสะสมของแร่ที่มีความคงทนต่อการสลายตัว เช่น ควอร์ตซ์ในอนุภาคขนาดทรายและทรายแป้งในปริมาณที่สูง ลักษณะเด่นคือเป็นชั้นที่มีสีจาง มีอินทรียวัตถุต่ำ กว่าชั้น A และมักจะมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้น B ที่อยู่ตอนล่างลงไป
ชั้น Bหรือชั้นสะสม เป็นชั้นหลักของหน้าตัดดิน มักจะมีความหนามากกว่าชั้นดินอื่นๆ ชั้น B ต่างๆ เป็นชั้นใต้ชั้นดินบน (subsurface horizons) ที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายมาสะสม (illuviation) ของวัสดุจากชั้นดินตอนบน ในเขตชื้น ชั้น B เหล่านี้จะเป็นชั้นที่มีการสะสมสูงสุดของวัสดุต่างๆ เช่น เหล็กและอะลูมินัมออกไซด์ และแร่ดินเหนียวซิลิเกต ส่วนในเขตแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ในชั้นนี้อาจมีการสะสมของแคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมซัลเฟต และเกลือต่างๆ
ชั้น C หรือชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน เป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ ใต้ชั้นที่เป็นดิน ประกอบด้วยหินและแร่ที่กำลังผุพังสลายตัว ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบที่เหมือนหรือต่างไปจากวัสดุที่ทำให้เกิดชั้น A E หรือ B ก็ได้
ชั้น R คือชั้นของหินแข็ง เป็นชั้นหินพื้น หรือชั้นของหินแข็งชนิดต่างๆ ที่ยังไม่มีการผุพังสลายตัว เป็นชั้นที่เชื่อมติดแน่น ใช้พลั่วขุดไม่ค่อยเข้าถึงแม้จะได้รับความชื้น
Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของหิน
หินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก นักธรณีวิทยาจำแนกหินออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร ซึ่งหินทั้ง 3 ประเภทนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนกันต่อเนื่อง หินประเภทหนึ่ง สามารถเปลี่ยนเป็นหินอีกประเภทหนึ่งได้ด้วยความร้อน การผุพังสึกกร่อนและการทับถมเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนลักษณะหิน เราเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลง และการหมุนเวียนของหินประเภทต่างๆนี้ว่า "วัฏจักรของหิน"
1.) หินอัคนี คือหินที่เกิดจากการหลอมเหลวภายในโลก และไหลออกมาตามรอยแยกของเปลือกโลก เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด ซึ่งต่อมาเย็นตัวลงกลายเป็นก้อนแข็ง เราจึงเรียกว่า "หินอัคนี" ขณะที่หลอมเหลวอยู่ภายใต้เปลือกโลก เรียกว่า "แมกมา" แต่ที่ไหลออกมาตามรอยร้าว เรียกว่า "ลาวา"
หินอัคนีมีความแข็งแกร่งกว่าหินชนิดอื่น เช่น หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินออบซิเดียน เป็นต้น
"หินแกรนิต" เนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว มีความแข็ง ทนทานมาก จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ
"หินบะซอลต์" เนื้อหินมีสีดำคล้ำจนเกือบดำ ไม่มีความแวววาว เนื้อหินแน่นละเอียด แต่มีรูพรุน มีความแข็ง ทนทานต่อการสึกกร่อน จึงนิยมเอามาใช้ในงานก่อสร้าง
"หินพัมมิซ" เนื้อหินมีความแข็งและสาก มีรูพรุน และมีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถลอยน้ำได้ นิยมใช้ทำวัสดุขัดถู
"หินออบซิเดียน" เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีดำ และผิวเรียบเป็นมัน
2.) หินชั้นหรือหินตะกอน คือหินที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ และตะกอนต่างๆ หรือเกิดจากการสึกกร่อนผุพังของหินอัคนีหรือหินอื่นๆเป็นเวลานาน หรือเกิดจากตะกอนต่างๆ ถูกกระแสน้ำ กระแสลมพัดพามา เมื่อสะสมหรือถูกแรงอัดนานๆเข้า ก็จะกลายเป็นหิน บางครั้งยังพบร่องรอยของซากพืช และซากสัตว์โบราณฝังอยู่ ซึ่งเรียกว่า "ฟอสซิล" หรือ "ซากดึกดำบรรพ์" หินชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นตะกอน หรือเป็นชั้นๆ เช่น หินทราย หินปูน หินดินดาน หินกรวด เป็นต้น
"หินทราย" มีอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยทรายที่สึกกร่อนจากหินแกรนิตเกาะติดกันแน่น โดยมีสารบางอย่าง เป็นตัวยึดให้ทรายติดกัน มีหลายสี เช่นเหลือง น้ำตาล แดง ขาว เทา นิยมใช้ทำหินลับมีด และใช้ในการก่อสร้าง
"หินกรวด" เกิดจากกรวดทรายมาทับถมกัน หินชนิดนี้ นิยมนำมาใช้ในการทำถนน หรือหินประดับ
"หินปูน" เกิดจากเปลือกหอยหรือซากสัตว์เล็กๆทับถมกันแยู่ใต้ทะเลนานๆ มีสีเทาหรือสีดำ บางก้อนจะเห็นเปลือกหอย หรือซากสัตว์ทะเลติดอยู่ หินปูนใช้ทำปูนขาว และผสมทำคอนกรีต
"หินดินดาน" เกิดจากการทับถมของโคลนและดินเหนียวเป็นเวลานานๆ มีลักษณะเป็นชั้นบางๆ เนื้อหินละเอียดมาก กะเทาะหรือหลุดเป็นแผ่นได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้ผสมทำปูนซีเมนต์ ใช้ในอุตสาหกรรมดินเผาและเซรามิก
3.) หินแปร คือ หินที่เปลี่ยนแปลงมาจากหินอัคนีหรือหินชั้น เพราะถูกความร้อน ความกดดันภายในโลก และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้รูปร่างและเนื้อเดิมของหินเปลี่ยนไป เช่นหินชนวน หินอ่อน หินไนส์
"หินชนวน" เป็นหินแปรสภาพมาจากหินดินดาน เนื้อละเอียด ผิวเรียบ เป็นมัน เรียงกันเป็นแผ่นบางๆ แยกออกจากกันได้ แข็งกว่าหินดินดาน ใช้ทำกระดานชนวน ทำแผ่นอิฐปูทางเดิน
"หินอ่อน" เป็นหินแปรสภาพมาจากหินปูน มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ มีสีขาว หรือสีต่างๆ นิยมใช้ทำหินประดับอาคาร และนำมาแกะสลัก
"หินไนส์" เป็นหินแปรสภาพมาจากหินแกรนิต มีความแข็งทนทานมาก ประกอบด้วยสีขาวขุ่น สีขาวใส และสีดำเป็นมัน เรียงกันเป็นริ้วขนาน นิยมใช้ทำโม่ และครก
"หินควอร์ตไซต์" เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินทราย มีลักษณะเป็นเม็ดๆ นิยมใช้ทำกรวดคอนกรีต ทำหินอัดเม็ด และใช้ทำวัสดุทนไฟ
Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว วิทยาศาสตร์ ระบบสุริยะ
ก่อนที่จะพูดถึงระบบสุริยะ ก็อยากให้ดูข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ก่อนว่าเขาพูดถึงดาวพลูโตว่าอย่างไร ในเช้าวันที่ 25 สิงหาคม 2549
นักดาราศาสตร์ชั้นนำของโลกพร้อมใจกันปลดดาวพระยม หรือ ดาวพลูโต ออกจากดาวนพเคราะห์ของสุริยะจักรวาลแล้ว จำนวนดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลจาก 9 ดวงเหลือเพียง8 ดวง
ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ ของสหภาพนักดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ The International Astronomical Union's (IAU)
ประมาณ 2,500 คน ซึ่งร่วมประชุมกันที่กรุง ปร๊าก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้มีมติถอนดาวพลูโต ออกจากการเป็นดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ
โดยอ้างว่า ดาวพลูโต ไม่ได้มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์บริวารอื่นๆ และเตรียมจัดฐานะให้ดาวพลูโต เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ที่ยอมรับโดยนักดาราศาสตร์นานาชาติ เหลือเพียง 8 ดวงเท่านั้น และจะส่งผลต่อแบบเรียนและฐานข้อมูลทางวิชาการ ที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่า ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์บริวารดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล ทั้งนี้ ดาวพลูโต ถูกค้นพบโดย Clyde Tombaugh ชาวสหรัฐ เมื่อปี 1930 (ข่าว INN)
ซึ่งนั่นก็คือ ดาวพลูโตถูกปลด (demotion) จากระบบสุริยะ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2549ค่ะ
ทีนี้เราก็เข้ามาสู่บทเรียนของเราต่อค่ะ แต่ก่อนเข้าบทเรียนเราจะมาให้ความสำคัญต่อดาวอีกดวงหนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่นขึ้น เมื่อดาวพลูโตออกจากระบบไปแล้ว นั่นคือดาวพุธค่ะิ ดาวพุธก็กลายเป็นน้องเล็กที่สุดในระบบสุริยะ เป็นดาวที่เล็กที่สุด
ระบบสุริยะ คือ ระบบของดวงดาวที่อยู่ในกาแลกซีทางช้างเผือก ซึ่งเป็นกาแลกซีหนึ่งในจักรวาล ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ 8 ดวงเป็นบริวาร รวมทั้งดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกาบาต ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงนี้มีตำแหน่ง เรียงตามลำดับจากดวงอาทิตย์ ดังนี้
1. ดาวพุธ 2. ดาวศุกร์ 3. โลก 4. ดาวอังคาร 5. ดาวพฤหัสบดี 6. ดาวเสาร์ 7. ดาวยูเรนัส
8. ดาวเนปจูน
ทีนี้ มาทำความรู้จักดาวแต่ละดวงว่าเป็นอย่างไร คือดวงอาทิตย์และดาวบริวาร
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก ให้พลังงานแสงสว่างและความร้อนแก่ดาวบริวาร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 25-35 วัน
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ทำให้มีอุณหภูมิสูงมาก ประมาณ 400 องศาเซลเซียส แต่อีกด้านหนึ่งมีอุณหภูมิต่ำมาก ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลา 88 วัน และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 59 วันเมื่อใช้เวลาเกือบเท่ากัน จึงทำให้ด้านหนึ่งที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ร้อนมาก แต่อีกข้างหนึ่งเย็นจัด จากการที่อุณหภูมิแตกต่างกันมาก ทำให้เราเรียกดาวพุธว่า "เตาไฟแช่แข็ง" เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ด้วยตาเปล่าในตอนเช้าก่อนที่ ดวงอาทิตย์ขึ้นครึ่งชั่วโมง และหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 2 จากการสำรวจโดยยานอวกาศ พบว่ามีพื้นผิวแห้งแล้ง มีบรรยากาศหนาแน่น เป็น 100 เท่าของโลก ก๊าซส่วนใหญ่ เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด และไอของกรดกำมะถัน ไม่มีออกซิเจนและไอน้ำ อุณหภูมิสูง เกือบ 500 องศาเซลเซียส จึงเชื่อได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ ตอนเช้ามืด ก่อนสว่าง 3 ชั่วโมง ที่เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง"
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาเป็นอันดับที่ 3 มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง โลกมีสภาวะเหมาะสม ที่สามารถก่อกำเนิดและดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต โลกหมุนรอบตัวเอง ใช้เวลา 23.56 ชั่วโมง หรือ 1 วัน และโคจรดวงอาทิตย์เป็นวงรีใช้เวลา ใช้เวลา 365 1/4 วัน หรือ 1 ปี
ดาวอังคาร จากการสำรวจโดยยานไวกิ้ง 1 และ 2 ของสหรัฐอเมริกาพบว่า ดาวอังคารมีลักษณะพื้นผิว สีแดง เต็มไปด้วยก้อนหิน มีหุบเหวลึกกว้างใหญ่ ไม่พบร่องรอยของสิ่งมีชีวิต มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง คือ โฟบอส และ ไดมอส ซึ่งถูกค้นพบโดย เอแสฟ ฮอล ในปี พ.ศ. 2420
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 28 ดวง อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 5 เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย เพราะเป็นดาวเคาระห์ก๊าซ ไม่มีหินแข็งเหมือนกับโลกของเรา จาการสำรวจของยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ของสหรัฐอเมริกา พบว่า มีจุดแดงใหญ่เป็นวง เป็นกลุ่มก๊าซร้อนหมุนวนด้วยความเร็วสูง มีดวงจันทร์ใหญ่สุด 4 ดวง คือ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต รวมกันเรียกว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน ซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ เมื่อ 340 ปีมาแล้ว
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองมาจากดาวพฤหัสบดี มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 30 ดวง ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 6 จากการผ่านไปสำรวจของยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 พบว่า ดาวเสาร์ มีวงแหวน 7 วงใหญ่ๆ และมีวงแหวนเล็กซ้อนกันอยู่มากมาย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของดาวเสาร์ วงแหวนนั้น คืออนุภาคน้ำแข็งและก้อนหินที่ปกคลุมด้วยน้ำ้แข็ง ไททันเป็นดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบรรดาดวงจันทร์บริวารทั้งหมดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ค้นพบโดย วิลเลียม เฮอร์เซล เมื่อ พ.ศ. 2324 ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารที่ถูกค้นพบแล้วรวม 21 ดวง จากการผ่านไปสำรวจของยานวอยเอเจอร์พบว่ามีวงแหวนบางๆ 10 ชั้นอุณหภูมิพื้นผิว -210 องศาเซลเซียส บรรยากาศประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม มีเทน และอะเซททีลีน เนื่องจากก๊าซมีเทนในบรรยากาศชั้นบนดูดซับแสงสีแดงไว้ จึงทำให้เรามองเห็นดาวยูเรนัสมีสีน้ำเงินเขียว
ดาวเนปจูน หรือดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 8 นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โจฮันน์ จี. กาเล ใช้กล้องโทรทรรศน์ตรวจพบเมื่อ พ.ศ. 2389 หลังจากนั้นไม่นาน มีการค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเนปจูน ชื่อ ไทรตัน กับเนรีด และมีการค้นพบเพิ่มอีก 6 ดวง ดาวเนปจูน จึงมีดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 8 ดวง จากการสำรวจของยานวอยเอเจอร์ 2 พบว่า ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 ชั้น และมีอุณหภูมิพื้นผิว -220 องศาเซลเซียส นอกจากนี้พบว่ามีพายุหมุนขนาดใหญ่เท่าโลกอยู่ทางซีกใต้ ของดาวเนปจูน ลักษณะคล้ายกับจุดแดงบนดาวพฤหัสบดี
Labels: วิทยาศาสตร์
รอบรั้ว พุทธศาสนา มรรยาทชาวพุทธ การแสดงความเคารพ
Saturday, February 2, 2008
1. การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
2. ไหว้ (วันทา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
การไหว้ตามมารยาทไทย เช่นนี้ปฏิบัติให้เรียบร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวม จึงจะดูงาม
3. การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
3.1 การกราบแบญจางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การที่ ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ท่าเตรียมกราบ
ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะที่ 2 (วันทา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
4. การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง
การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
ในกรณีที่ศพได้ รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพศพ
ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ